นวัตกรรมสื่อดิจิทัลใหม่สำหรับนิเทศศาสตร์

Main Article Content

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช

Abstract

ในระบบการเห็น ระบบการได้ยิน ระบบการสัมผัส ระบบการได้กลิ่น และระบบการลิ้มรสของมนุษย์ ทุก ๆ ประสาทสัมผัสทั้งห้ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างประสบการณ์ของชีวิตประจำวันของมนุษย์ผ่านทางอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำ อย่างไรก็ตามในอดีตกาลการสื่อสารสำหรับสื่อ มักจะถูกจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารผ่านระบบการได้ยินของมนุษย์ เช่น โทรศัพท์มือถือ 2G ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้นทุกวัน การสื่อสารและสื่อดิจิทัลไปไกลเกินกว่าเพียงแค่การได้ยิน บทความวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกรอบที่เรียกว่า “สื่อดิจิทัลใหม่” ซึ่งกรอบนี้จะเป็นการบูรณาการระหว่างสื่อดิจิทัลแบบดั้งเดิมในเชิงนิเทศศาสตร์เข้ากับกรอบความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการสื่อสารแบบดั้งเดิมในยุคสารสนเทศใหม่นี้ รวมไปถึงจะมีการอธิบายการพัฒนางานวิจัยล่าสุดของสื่อดิจิทัลใหม่ที่มีการใช้และการประยุกต์ใช้อ็อกเมนท์เท็ดเรียลลิตี้ (Augmented Reality) และคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) อนึ่งบทความวิจัยชิ้นนี้จะมีกรอบโดยย่อสำหรับงานวิจัยสื่อดิจิทัลในอนาคตเมื่อมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้ากับประสาทสัมผัสทุกประสาทของมนุษย์ (กล่าวคือ การได้ยิน การเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น และ การลิ้มรส) อย่างเป็นนวัตกรรม นอกจากนี้จะมีการวิเคราะห์ในแง่ของสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับอุปนิสัยของประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลใหม่ในกรอบอาเซียนด้วยเช่นกัน

 

In human vision system, hearing system, somatosensation system (touch), olfactory system (smell) and gustatory system (taste), all five senses perform a very important role in enhancing one’s daily life experiences through moods, emotions and memory. However previously, communication for media was often only limited through human hearing system, such as 2G mobile phone. In this today’s world where technologies increasingly shape our everyday lives, communication and digital media go far beyond than just audition. This paper presents a framework called “new digital media”. This framework integrates between conventional digital media in the context of communication arts and computer engineering-based innovative technologies together, which will change some traditional communication landscapes in this new information age. In addition, the recent development of the new digital media research work using and applying augmented reality and computer vision is discussed. Furthermore, this paper provides a brief framework for future digital media research when applying computer engineering-based technologies into every traditional human sense (i.e., hearing, vision, somatosensation, olfactory and gustatory systems) innovatively. Moreover, some digital media habits of people using internet in Southeast Asia are synthesized. Further discussion about new digital media in ASEAN framework is included also.

Article Details

Section
บทความวิชาการ