ก้าวที่ผ่านมาและก้าวต่อไปของการสื่อสารชุมชน: ตอนที่ 2 การศึกษาการสื่อสารชุมชนในรูปแบบใหม่

Main Article Content

กำจร หลุยยะพงศ์

Abstract

              บทความเรื่องนี้จะทบทวนให้เห็นพัฒนาการของการศึกษาการสื่อสารชุมชน ทั้งชุมชนในความหมายเชิงพื้นที่กายภาพโดยมุ่งเน้นพื้นที่ชนบท ซึ่งนักนิเทศศาสตร์พัฒนาการให้ความสนใจในแง่ของการใช้การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชนบท โดยเริ่มจากอดีตที่รัฐเป็นศูนย์กลางเน้นการพัฒนาให้ทันสมัยแบบตะวันตก สู่การตั้งคำถามถึงการพึ่งพิงคนอื่น และนำมาสู่การพึ่งพิงตนเองและมีส่วนร่วมของคนในชุมชน นอกจากนั้น บทความนี้ยังขยายสู่การศึกษาการสื่อสารชุมชนในความหมายใหม่ในหมู่นักวิชาการสาขาอื่นๆ คือ ชุมชนในจินตนาการ (Imagined community) หมายถึงชุมชนที่ไม่จำเป็นต้องอิงพื้นที่ แต่มีการรวมตัวกันของผู้คนในจิตใจ เช่น แฟนคลับ ชุมชนคนพลัดถิ่น ชุมชนเสมือนหรือชุมชนไซเบอร์ การศึกษาดังกล่าวจะช่วยทำความเข้าใจศาสตร์ด้านนิเทศศาสตร์พัฒนาการกับการสื่อสารชุมชนที่ถึงเวลาของการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับโลกความเป็นจริงและโลกทฤษฎีของสาขาอื่นๆ

 

This article reveals the development of community communication studies. In the case of the physical space of community, especially rural community, development communication scholars focus on how to use communication for rural development. In the past, these scholars emphasized Western-inspired modernization with a centralization of the state. Today, they have shifted their interest to media dependency and self-reliance with a participatory communication of people in rural communities. As for the imagined community, the article pays attention to an imagination of how people gather and construct mental spaces; for example, a space of fan club, a diasporic community, a virtual or cyber community. In this way, the paper makes visible an adaptation and change both in the physical reality and in the academic theoretical world.

Article Details

Section
บทความวิชาการ