การรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมเมาแล้วขับรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่น

Main Article Content

อุษา บิ้กกิ้นส์

Abstract

จากการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะมึนเมา และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะมึนเมา ซึ่งใช้วิธีผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยด้านพฤติกรรมเมาแล้วขับของวัยรุ่นอยู่ 4 ประการดังนี้

ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มวัยรุ่นชายที่มีความเสี่ยงในการเมาแล้วขับอายุระหว่าง 15-25 ปี พักอาศัยอยู่ที่หอพักกับเพื่อน

ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา วัยรุ่นชายชอบความท้าทายและเสี่ยงซึ่งเป็นสาเหตุของการเมาแล้วขับ

ปัจจัยด้านพฤติกรรม วัยรุ่นที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไม่กลัวการเมาแล้วขับ

ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อนเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากที่สุดที่ทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เมาแล้วขับ

พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ที่เมาแล้วขับ วัยรุ่นเปิดรับโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตมากที่สุด พวกเขารับรู้ข้อความจากสติ๊กเกอร์ บิลบอร์ด โปสเตอร์ และโทรทัศน์ พวกเขาสนใจการกระตุ้นความกลัวผ่านสื่อ ดังนั้น ควรมีวิธีการแก้ปัญหา 2 วิธี คือ การขับเคลื่อนนโยบาย และการสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆทางเว็บไซต์ การนำเสนอข่าวการขับรถขณะมึนเมาและการใช้การรณรงค์สื่อสารการตลาด การรณรงค์ข้อมูลข่าวสาร และการรณรงค์ด้วยการประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะ

การรณรงค์เมาไม่ขับอย่างมีประสิทธิภาพควรใช้วิธีที่เรียกว่า การรณรงค์ด้วยการประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะ การรณรงค์ควรประกอบด้วย การใช้อารมณ์ขัน ทำให้ตกใจ  แนะนำสั่งสอน และใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง 

 

According to the research topic “Factors on Motorcycle Drunk  Driving Behaviour in Bangkok Metropolitan”, the objectives were to find out factors of motorcycle drunk driving and to study media exposure of drunk driving motorcyclists. The researcher employed the mixed methods including quantitative and qualitative research. There were four main factors of drunk driving behavior of adolescents as follow:

Demographic Factors-the risky groups of drunk driving male adolescents were between 15-25 years old staying at dormitories with friends.

Psychological Factors-  the male adolescents liked to challenge and took a risk which caused drunk driving. 

Behavioral Factors-  the alcoholic adolescents were not afraid of drunk driving.

Social and Cultural Factors – friends were the most influential groups for drunk driving motorcyclists.

The behavior of media exposure of drunk drivers – the adolescents exposed to television and internet the most. They perceived message via stickers, billboards, posters and televisions and they were attracted to fear-arousal appeal on media.  There should be two main methods to solve the problems including policy movement and public communication includes to publicize projects and activities in websites, to present news on driving while intoxicated and to provide social marketing campaign, information campaign and public service campaign.   

The campaigns should focus on public service announcement (PSA) and the design of campaigns should consist of humour, shock treatment, peaching and using a celebrity.

Article Details

Section
บทความวิชาการ