การเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน

Main Article Content

วรรณกานต์ สุวรรณมุข
สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคมีอายุระหว่าง 18 – 45 ปี จำนวน 390 คน แบ่งเป็นผู้ที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์แมน (LINE MAN) จำนวน 130 คน แอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด (GrabFood) จำนวน 130 คน และแอปพลิเคชันเก็ท (GET!) 130 คน ที่มีการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้เลือกสุ่มตัวอย่าง 2 วิธี คือ  1. แบบไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 2. การสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ (Volunteer sampling) ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สมัครใจในการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งใช้สถิติที่ใช้ทดสอบ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าสถิติถดถอยพหุคูณ


            ผลการวิจัยพบว่า 1).ผู้บริโภคมีการเปิดรับสื่อจากแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับสื่อจากตราสัญลักษณ์บริเวณเสื้อหรือกระเป๋าของพนักงานส่งอาหารมากที่สุด 2).ความผูกพันที่ผู้บริโภคมีต่อแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารอยู่ในระดับสูง ซึ่งผู้บริโภครู้สึกเสียดายเมื่อไม่มีแอปพลิเคชันไลน์แมน (LINE MAN) แกร็บฟู้ด (GrabFood) และเก็ท (GET!) ให้สั่งอาหารอีกต่อไป 3).การตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง 4).การเปิดรับสื่อและความผูกพันของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 5).ความผูกพันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารผ่าน แอปพลิเคชันมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เก็ท (GET) เผยคนไทยนิยมสั่ง ฟู้ด เดลิเวอร์รี่ ยอดออเดอร์พุ่ง. (2563, 28 กุมภาพันธ์). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868415

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ตรีสุนันท์ อุปรมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันไลน์แมนสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ธนาคารกสิกรไทย. (2562). อยากกินต้องได้กิน SME ร้านอาหารปรับรับ Food Delivery. สืบค้นจาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Food_Delivery.aspx

ธีรวิทย์ ชาญโกเวทย์. (2559). การเปิดรับและทัศนคติของผู้ขับขี่ยานพาหนะต่อสื่อดิจิทัลบอร์ด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(3), 115-126.

ลงทุนศาสตร์. (2562). สรุปข้อมูลบริษัท Grap: Grab การลงทันเสี่ยงเหลือเกิน. สืบค้นจาก https://www.investerest.co/business/the-story-of-grab/

วงศกร ยุกิจภูติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน Line ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วิเลิศ ภูริวัชร. (2553). Marketing is all around. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ Bizbook,

สสินาท แสงทองฉาย. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen-Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/online-food-delivery-survey-during-the-prevention-of-covid-19.html

สุรภี ฤทธิ์มาก. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันไลน์ฟู้ด (Line Food Application) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

Aom_sin. (2562, 24 พฤษภาคม). ไขข้อข้องใจ สั่งอาหาร Lineman-grab food-get food แอปไหนคุ้ม, ใครมีบวกราคา, โปรโมชั่นมาแรงที่สุด?. สืบค้นจาก https://droidsans.com/vs-lineman-grabfood-getfood/

Just222. (2563). ไขรหัสความสำเร็จ Grab กับบริการ food delivery ที่ครองใจคนไทยทั้งประเทศ. Marketeer. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/178476

Marketing Oops!, (2560). แกร็บ ตั้งเป้าสู่การเป็น Daily Apps ส่ง “GrabFood” ลงสนามธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/brand-move/grab-food/

Sale Here. (2562, 24 พฤษภาคม). ไทม์ไลน์ [เฟซบุ๊ก เพจ]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/salehere/photos/a.638704542884328/2370192549735510/?comment_id=2370331176388314

Anderson, E. W., Fornell, C., & Lehmann, D. R. (1994). Customer satisfaction, market share, and profitability: Findings from Sweden. The Journal of Marketing, 58, 53-66.

Katz, E., & Lazarsfeld, P. F. (1998). Personal influence: The part played by people in the flow of mass communications. Glencoe, IL: Free Press.

Keller, K. L. (2013). Strategic brand management: Building, measuring, and managing brand equity (4th ed.). Harlow: Peason.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Mollen, A., & Wilson, H. (2010). Engagement, telepresence, and interactivity in online consumer experience: Reconciling scholastic and managerial perspectives. Journal of Business Research, 63(9), 919-925.

Paul, J. P., & Olsen, J. C. (1994). Understand consumer behavior. Ilion’s: Irwin.

Shimp, T. A. (2010). Integrated marketing communications in advertising and promotion. Mason, Ohio: South-Western Cengage Learning.

Solomon, M. R. (2015). Consumer behavior buying having, and being (11th ed). Edinburgh Gate, England: Pearson Education