ความหมายสองนัยของ“อโหสิกรรม”

ผู้แต่ง

  • Sumalee Mahanarongchai Associate Professor Dr.
  • ณัฐธัญ มณีรัตน์

คำสำคัญ:

อโหสิกรรม, เวร, ชวนจิต, วิถีจิต, นิพพาน

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความหมายของอโหสิกรรมในสองนัย คือนัยที่เป็นความเชื่อทางสังคมและนัยที่เป็นคำสอนในพุทธศาสนาเถรวาท อโหสิกรรมในฐานะเป็นความเชื่อทางสังคมหมายถึงการขออภัยต่อความสัมพันธ์เชิงลบและสิ้นสุดเวรที่กระทำต่อกัน ส่วนอโหสิกรรมในฐานะเป็นคำสอนพุทธศาสนาอาจหมายถึงกรรมที่ส่งผลเรียบร้อยแล้วหรือกรรมที่หมดโอกาสส่งผลก็ได้ โดยกรรมที่หมดโอกาสส่งผลนั้นเมื่อพิจารณาตามคำสอนเรื่อง 17 ขณะรับรู้ทางจิตและ 7 ชวนวิถีจิตในพระอภิธรรม เราพบว่า อโหสิกรรมเป็นไปได้เมื่ออธิบายการรับผลของกรรมตามกรอบเวลาในการส่งผล กรรมใดกรรมหนึ่งซึ่งมีกำลังแห่งเจตนารุนแรงพร้อมให้ผลทันทีในเวลานั้นสามารถเป็นอโหสิ ถ้ามีเหตุปัจจัยที่มีกำลังมากกว่าเข้ามาขัดขวางกระบวนการส่งผลของมัน และกรรมใดกรรมหนึ่งซึ่งมีกำลังแห่งเจตนารุนแรงที่รอคอยจะให้ผลในอนาคตชาติถัดไปสามารถเป็นอโหสิ ถ้ามีเหตุปัจจัยที่มีกำลังมากกว่าเข้ามาขัดขวางกระบวนการส่งผลของมัน เหตุปัจจัยที่มีกำลังสูงสุดซึ่งทำให้กรรมเป็นอโหสิได้คือการบรรลุนิพพาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ:

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย (ปุณขันธ์). (2546). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระเทวทัตที่ปรากฏ

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2553). ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน.

กรุงเทพฯ: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เล่มที่ ๙. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เล่มที่ ๑๓. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เล่มที่ ๓๑. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เล่มที่ ๓๒. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ขุททกนิกาย อปทาน ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ธรรมบท ขุททกนิกาย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). อรรถกถาภาษาไทย ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค ๑ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 3 ตอนจบ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2560). พจนานุกรมบาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มูลินิธิภูมิพโลภิกขุ,

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ:

นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สุกัญญา โกติกาล. (2554). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอโหสิกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สุจินต์ บริหารวนเขตต์. (2536). ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก. กรุงเทพฯ:

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2565). “เจตนา” และ “กรรม” ในพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 29(3): 1-28.

อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๗ กรรมกถา. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). สืบค้นจาก

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=523.

Secret Magazine (Thailand). (2021). การขอ “อโหสิกรรม” คืออะไร. สืบค้นจาก

https://www.facebook.com/SecretThaiMag/posts.

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

Mahanarongchai, S., & มณีรัตน์ ณ. . (2025). ความหมายสองนัยของ“อโหสิกรรม” . วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 120–153. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article/view/274540