ฺิBook Review A middle way of Nâgârjuna
Abstract
ความว่าง ทางสายกลาง และการอิงอาศัยกันมีอยู่ของสรรพสิ่ง ถือว่าเป็นหลักคำสอนที่พระพุทธศาสนามหายานทุกนิกายต่างก็นำมาตีความให้ความหมายและถกเถียงกันไปตามมติของคณาจารย์ในแต่ละสำนักอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาภายหลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากคำสอนเรื่องดังกล่าว ด้วยกันแทบทั้งสิ้น สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะสำนักพุทธในยุคหลังโดยมากจะพัฒนาหลักคำสอนในเชิงปรัชญา ซึ่งทำให้มีการถกเถียงกันถึงความหมายของคำว่า ความว่าง ทางสายกลาง ว่าหมายถึงอะไร สำนักที่มีชื่อเสียงที่สุดที่พยายามแก้ปัญหาที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้คือ สำนักมาธยมิกะ ผู้วางรากฐานคำสอนคือ ท่านนาคารชุนะ มาธยมิกะแปลว่าผู้นับถือคำสอนเรื่องทางสายกลาง มาธยมิกะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศูนยตวาท หมายถึงคำสอนที่ประกาศความว่างของสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องสำคัญที่แสดงให้เห็นทางสายกลางตามแนวทางที่สำนักนี้สอน แต่ก็เป็นประเด็นที่สร้างปัญหาในการอธิบายคำสอนของสำนักนี้ด้วย
Downloads
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Chulalongkorn University Centre for Buddhist Studies
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์พุทธศาสน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์พุทธศาสน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว