บทความวิชาการ มุทรา : รหัสยนัยของพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • อดิเรก โลกะนัง นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : มุทรา, รหัสยนัย, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อถอดรหัสยนัยที่แฝงอยู่ในอิริยาบถของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ล้วนแสดงรหัสยนัยเอาไว้เรียกว่า “มุทรา” อันเป็นหนึ่งในรูปแบบในการแสดงออกโดยการใช้นิ้วมือของมนุษย์ เป็นอากัปกิริยาเชิงสัญลักษณ์ที่แฝงคติธรรมที่สำคัญ การทำสัญลักษณ์ด้วยการจีบนิ้วมือในลักษณะต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเพียงคติทางศาสนาที่นำมาใช้สร้างพระพุทธปฏิมาให้เกิดสุนทรียภาพเท่านั้น แต่ยังอาจนำมาใช้ในการเจริญสติ สมาธิและปัญญาได้ด้วย กล่าวกันในหมู่ชาวพุทธว่า  เมื่อฝึกสมาธิจนกลายเป็นนิสัยแล้วจะเข้าถึงวิถีจิตแห่งพุทธะที่เที่ยงแท้  บุคคลนั้นจะมีท่าทางอากัปกิริยาที่เชื่องช้าเนิบนาบ อ่อนโยน มีสติสมบูรณ์แต่ในขณะเดียวกันจะหนักแน่นมั่นคง อากัปกิริยาเคลื่อนไหวของผู้ที่เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะที่กล่าวนี้จะเป็นตัวกำหนดอาการของ “มุทรา”  ซึ่งก็คืออากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์ผู้รักษาศีล สติ สมาธิและปัญญา จนเกิดต่อกันเป็นลูกโซ่ อากัปกิริยามุทรานี้จึงซ่อนองค์คุณที่สำคัญที่สุดไว้คือ ศีลและการฝึกสติ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธิเอาไว้อย่างลึกซึ้งแนบเนียน

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2544). การวิเคราะห์การแสดงวิตกรรมุทราสองพระหัถต์ของพระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI. (2561). สมาธิ ทางรอดวิกฤตติดถ้ำ. อยู่ในบุญ.

พระพรหมบัณฑิต. (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล : วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2528). ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคุ่มือนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

วิกิพีเดีย. (15 ตุลาคม 2018). บทความ มุทรา. เข้าถึงได้จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี: https://th.wikipedia.org/wiki/มุทรา

ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2556). ประวัติศาสตร์ศิลปะเประเทศใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สนิท คำแดง. (2544). ปรัชญาเถวาท. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2538). ศิลปในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกอนันต์เผยแพร่ธรรม. (ม.ป.ป.). ไตรรัตน์: แก้ววิเศษ 3 ประการ.

Encyclopædia Britannica. (11 October 2010). mudra (symbolic gestures). เข้าถึงได้จาก Encyclopædia Britannica.: https://www.britannica.com/topic/mudra

Sir John George Woodroffe. (1951). Shakti and Shâkta: Essays and Addresses on the Shâkta Tantrashâstra. London: Ganesh.

Cain Carroll. (2012). Mudras of India: A Comprehensive Guide to the Hand Gestures of Yoga and Indian Dance. London: Jessica Kingsley Publishers.

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

โลกะนัง อ. (2025). บทความวิชาการ มุทรา : รหัสยนัยของพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 154–175. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article/view/271189