การบูรณาการพุทธธรรมและภูมิปัญญา ทางการเกษตรของชุมชนเกษตรอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรวรเดชา อคฺคเตโช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศุภกฤษ เดชะนามเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิกร สุวรรณดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณธิศ สุพรเสฐียรกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บูรณาการพุทธธรรม, ภูมิปัญญาทางการเกษตร, เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางการเกษตรของชุมชนเกษตร อินทรีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดนครนายก และ (๒) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชองชุมชนเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดนครนายก เก็บข้อมูลจากสมาชิกชุมชนกลุ่มผู้ประกอบ การเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นเกษตรกรกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ที่มีการประกอบการหมักปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ย ชีวภาพเพื่อนำไปใช้กับการเกษตร จำนวน ๕ พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓ พื้นที่ และจังหวัดนครนายก ๒ พื้นที่ จำนวน ๕-๑๐ ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยแสดงถึงภูมิปัญญาอันเกิดจากการบ่มเพาะและสั่งสมจากการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเผยแพร่กัน ในหมู่ชาวเกษตรอินทรีย์ในด้านการทำปุ๋ยชีวภาพ ผลการวิจัยยังแสดงอีกว่ามีการการนำเอาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธ ศาสนามาเป็นแนวทางในการทำการเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีล ๕ และหลักเมตตาธรรม นอกจากนี้ยังพบว่า มีการนำหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ของชุมชนอีกด้วย ข้อเสนอแนะ สำหรับการวิจัยครั้งต่อไปคือควรจะศึกษาผู้นำด้านการสร้างภูมิปัญญาทางการเกษตรอินทรีย์ให้ลึกซื้งยิ่งขึ้น และควรศึกษา เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมและหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงในความเข้าใจของเกษตรกรที่ใช้ แนวทางเกษตรอินทรีย์เหล่านี้อีกด้วย

Downloads

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ๑๑๗ อาชีพเกษตรกรรมทางเลือก เพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาการว่างงาน. กรมส่งเสริมการเกษตร, ๒๕๕๒.

กรมการพัฒนาชุมชน. คู่มือแนวทางการบูรณาการแผนชุมชน. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน, ๒๕๕๓.

กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “รากแก้ว” บันทึกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีที่ ๑๑๐ . กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดาวฤกษ์ จำกัด, ๒๕๔๕.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ๒๕๕๕-๒๕๕๙. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน. สำนักนายกรัฐมนตรี,๒๕๕๕.

ชุมพูนุช ศรีจันทร์นิล. จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยา และพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔ เดือ นตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๒.

ธวัช ปุณโณทก. ทิศทางหมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมู่บ้าน, ๒๕๓๑.

บรรณาธิการบริหาร. โครงการรักป่าสร้างคน ๘๔ ตำบลวิถีพอเพียง. จดหมายข่าว ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔.

ประเวศ วะสี. กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย ท้องถิ่นเข้มแข็ง. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ บริษัท ทีคิวพี จำกัด, ๒๕๒๒.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

_______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www3.oae.go.th/rdpcc/index.php (เข้าถึงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐) [Online] Available from : http://www3. oae. go.th/rdpcc/index.php (Accessed on 23 December 2017).

สัมภาษณ์

สุชาติ ขาวเหลือง. สัมภาษณ์. วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐.

ทองหล่อ แดงอร่าม. สัมภาษณ์. วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๐.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-26

How to Cite

อคฺคเตโช พ., เดชะนามเมือง ศ., สุวรรณดี น., & สุพรเสฐียรกุล ค. (2018). การบูรณาการพุทธธรรมและภูมิปัญญา ทางการเกษตรของชุมชนเกษตรอินทรีย์. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25(1), 48–54. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article/view/160886