อิทธิพลทางตรงและผลรวมที่มีต่อการเดินทางมาไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของปัจจัยส่วนบุคคล สถานที่ บุคลากร ความเหมาะสม การให้บริการ ประชาสัมพันธ์ และการไหว้พระ 9 วัด และ 2) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล สถานที่ บุคลากร ความเหมาะสม การให้บริการ ประชาสัมพันธ์ที่มีต่อการไหว้พระ 9 วัด งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาไหว้พระ 9 วัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ อัตราส่วนร้อย และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยวไทยที่ตกเป็นกลุ่ม เป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.50 อายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 33.50 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 48.50 มีรายได้ต่อเดือน 30,001-45,000 บาท ร้อยละ 34.50 อาชีพธุรกิจส่วนตัว / ค้าขายอิสระ ร้อยละ 30.00 สถานภาพสมรส ร้อยละ 57.50 โดยนักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเดินทางไปไหว้พระ 9 วัดนั้นดี - ดีมาก ร้อยละ 63.50 ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เห็นดีมากใน 3 ประเด็นได้แก่ (1) การที่มีพระประพฤติดีน่าเลื่อมใส ร้อยละ 55.00 (2) ความสะดวกในเรื่องการจอดรถ ร้อยละ 50.00 และ (3) การมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 46.00 ตามลำดับ ทั้งนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คิดเห็นว่าควรปรับปรุง 3 ประเด็นไล่เรียงลำดับได้แก่ (1) การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ / โซเชียล ร้อยละ 55.00 (2) คนขายวัตถุมงคลที่ควรปรับปรุงพฤติกรรมการขายให้ดูน่าเชื่อถือ ร้อยละ 55.00 และ (3) ความรวดเร็วในการเดินทางแต่ละวัด ร้อยละ 32.00 และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วยอายุ การศึกษา สถานภาพ ประสบการณ์ รายได้ต่อเดือน และอาชีพมีอิทธิพลทั้งทางตรง (ß = 0.961) และผลรวม (ß = 2.832) มากที่สุดต่อการไหว้พระ 9 วัดของนักท่องเที่ยว ส่วนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวัดมีอิทธิพลทางอ้อม (ß = 1.880) ต่อการไหว้พระ 9 วัดของนักท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ บุคลากร ความเหมาะสม การให้บริการ ประชาสัมพันธ์ และสถานที่ (ß = 0.944) เป็นลำดับท้าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม 2566 ถึง ธันวาคม 2566. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/705
กรกฎ พัวตระกูล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบางขุนเทียนชายทะเล. ปริญญาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report). โครงการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยปี 2564. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566, จาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T27095.pdf
จินต์จุฑา ลาภวาณิชย์สกุล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดน่านของนักท่องเที่ยวสตรีโสดวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพร ไข่มุกข์. (2566). การศึกษามโนทัศน์เลขเก้าในสังคมไทยในปัจจุบัน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 59-76.
ฐาวรี ขันสำโรง สำราญ ขันสำโรง พรสุข หุ่นนิรันดร์ สุภาดา คำสุชาติ สุภกรรณ จันทวงษ์ และวัชรินทร์ พอสม. (2562). บทบาทและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาชาเตอร์ของพระภิกษุและสามเณรที่พำนักวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 181-199.
ไทยโพสต์ออนไลน์. (2566). 9 วัดเมืองกรุงเก่าต้องไป ต่อยอดลิซ่า. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2567, จาก https://www.thaipost.net/news-update/402068/
นิชรา ทองเย็น. (2562). การบริหารจัดการวัดในแหล่งท่องเที่ยวกรณีศึกษา: วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดท่าการ้อง. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุปผชาติ แต่งเกลี้ยง สิทธิชัย นวลเศรษฐ และดนวัต สีพุธสุข. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2567, จาก https://www.repository.rmutsv.ac.th/bitstrea m/handle/123456789/3 2 39/FullText.pdf?sequence=1&isAllowed=y
บ้านเมืองออนไลน์. (2566). วธ. ชวนตามรอย “ลิซ่า” ด้วย “เส้นทางไหว้พระ 9 วัดเมืองกรุงเก่า”. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2567, จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/333031
ปิยารัตน์ ตรีรัตนประคอง. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทางภาคใต้ของประเทศไทย. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พศวีร์ โกตาเมย์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วนัสนันทน์ โพธิ์เพชร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีรยา เจริญสุข. (2562). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริหารและการจัดการ, 7(1), 40-49.
ศุจินธร ทรงสิทธิเดช กฤตยา วงษ์เมือง สโรชา ศรีสุภะ และชัชพงศ์ แย่งเพ็ชร. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจเพื่อการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 241-253.
สุดาพิมพ์ สรสุชาติ สายพิณ ปั้นทอง และจิรารัตน์ จันทวัชรากร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านบางเขน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(2), 164-179.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). รายงานสถานการณ์สังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566, จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/arti cle/article20220920143343.pdf
อรรถชัย ณ ภิบาล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Aguinis, H., Kraus, H., Poček, J., Meyer, N., & Jensen, S.H. (2023). The why, how, and what of public policy implications of tourism and hospitality research. Tourism Management, 97, 56-72.
Chen, C. (2024). Assessment of test validity in the context of the duolingo english test. Journal of Modern Linguistics, 14, 1-7.
Marini, J.P., Westrick, P.A., Young, L., Shmueli, D., & Shaw, J.E. (2019). Differential validity and prediction of the SAT. Retrieved April 11, 2024 from https://files.eric.ed.gov/ fu lltext/ED25.pdf
Parasuraman, P, Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Racy, F., Morin, A., & Hagerty, J. (2022). Concurrent validity and reliability of representative inner speech questionnaires. Psychological Reports, 127(3), 56-69.
Roebianto, A., Savitri, L., Sriyanto, A.S., & Syaiful, L.A. (2023). Content validity: Definition and procedure of content validation in psychological research. TPM – Testing, 30(1), 5-18.
Ronkko, M., & Cho, E. (2020). An updated guideline for assessing discriminant validity. Organizational Research Methods, 25(1), 4-15.
Schuler, J., Anderson, B., & Kusshauer, A. (2023). Test-Retest Reliability in Metric Conjoint Experiments: A New Workflow to Evaluate Confidence in Model Results. Entrepreneurship Theory and Practice, 48(2), 42-57.
Shrestha, N. (2022). Factor Analysis as a Tool for Survey Analysis. American Journal of Applied Mathematics and Statistics, 9(1), 4-11.
Vorosmarty, G., & Dobos, L. (2020). Green purchasing frameworks considering firm size: multicollinearity analysis using variance inflation factor. Supply Chain Forum, 21(3), 1-12.
Zhang, K., Zhang, J., & Yang, J. (2023). The influence of human elements in photographs on tourists' destination perceptions and intentions. Tourism Management, 95, 112-123.