กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคกลัวการเข้าสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงการในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปริณุต ไชยนิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางการป้องกันโรคกลัวการเข้าสังคมด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2565 (ภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2) จำนวน 143 คน ผู้บริหารและครูในโรงเรียนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8 โครงการ จำนวน 8 คน และผู้แทนจากชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (2) ขั้นเตรียมโครงการ (3) ขั้นฝึกทักษะที่จําเป็น (4) ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (5) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (6) ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (7) ขั้นสรุปผลการดําเนินการ (8) ขั้นทบทวนและนำเสนอโครงการ ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ ได้แก่ ปัญหาอุปสรรคที่ 1 : ความยากในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ปัญหาอุปสรรคที่ 2 : ความกลัวและความท้อใจของผู้เรียน ปัญหาอุปสรรคที่ 3 : ความอึดอัดใจที่ต้องสื่อสารกับสังคมของผู้เรียน ส่วนแนวทางการป้องกันโรคกลัวการเข้าสังคม ได้แก่ 1) จัดการศึกษาอย่างลุ่มลึกไปยังสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ 2) ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์จริง 3) ให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วิชญาปกรณ์ และ ทรงภพ ขุนมธุรส. (2566). การใช้วิธีสอนแบบโครงการในรายวิชาคติชนวิทยา กับการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย. Liberal Arts Review, 18(1), 111-128.

จักรกฤษณ์ พลราชม, ณัฐพัชร์ พงอุดทา, ทิพย์ทิวา แก้วกาวี, เสาวภาคย์ น้ำทอง, ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, และมนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและ สุขภาพจิตของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(1), 74-83.

ชญานุช ศรีจันทร์. (2561). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวการยอมรับและพันธสัญญาต่อความ วิตกกังวลทางสังคมความกลัวการถูกประเมินทางลบและความยืดหยุ่นทางจิตใจในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงค์นุช แนะแก้ว. (2560). ความเครียด ความวิตกกังวลและการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ. กรุงเทพมหานคร: งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์, โรงพยาบาลศิริราช. หน้า 105.

สุปรีชา ชํานาญพุฒิพร, อุทัยพร ไก่แก้ว และปริญญา เรืองทิพย์. (2563). บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและ คติสมบูรณ์แบบเพื่อทำนายความวิตกกังวลทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย. ปัญญา, 27(2), 49-62.

อรนุช ศรีคํา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 292-301.

Baum, F., MacDougall, C., & Smith, D.(2006). Participatory action research. Journal of Epidemiology & Community Health, 60(10), 854–857.

Booth. (1987). Project work. 2 nd ed. Oxford : The Alden Press. Chark.

Freire, P. (1972). Pedagogy of the Oppressed. Harmondsworth: Penguin.

Guo, P., Saab, N., Post, L. S., & Admiraal, W. (2020). A review of project-based learning in higher education: Student outcomes and measures. International journal of educational research, 102, 101586. https://doi.org/10.1016/j.ijer.2020.101586.

Leary, M. R. (1983). Understanding social anxiety: Social, personality and clinical perspectives (Vol. 153): Sage Publications, Inc.

Lindner-Muller, C., John, C., & Arnold, K. (2012). Longitudinal Assessment of Elementary School Students’ Social Self-concept in Relation to Social Preference. Journal for Educational Research Online, 4(1): 47 –72.

Orben, A., Tomova, L., & Blakemore, S-J. (2020). The Effects of Social Deprivation on Adolescent Development and Mental Health. Viewpoint, 4(8), 634 -640.

Riggio, R. (1986). Assessment of Basic Social Skills. Journal of Personality & Social Psychology, 51: 649 –660.

Shahid, S., Kelson, J., & Saliba, A. (2024). Effectiveness and User Experience of Virtual Reality for Social Anxiety Disorder: Systematic Review. JMIR Mental Health, 11(1), e48916.

Westrup, D., & Wright, M. J. (2017). Learning ACT for Group Treatment: An Acceptance and Commitment Therapy Skills Training Manual for Therapists: New Harbinger Publications.