อดีตพระพุทธเจ้า : ร่องรอยอารยธรรมของงานจิตรกรรมไทยสมัยอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
อดีตพระพุทธเจ้า : ร่องรอยอารยธรรมของงานจิตรกรรมไทยสมัยอยุธยา นำเสนอสาระและองค์ความรู้งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยา ว่าด้วยเรื่องภาพจิตรกรรมอดีตพระพุทธเจ้า “อดีตพระพุทธเจ้า” กล่าวคือบรรดาภูมิหลังของพระโพธิสัตว์อันมาเกิดบนโลกมนุษย์และบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณและสำเร็จอรหันต์ จนลุเข้าสู่พระนิพพานก่อนจะมาถึงพระสมณโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) เนื้อในบทความฉบับนี้แบ่งเนื้อหาในเชิงวิชาการออกเป็น 5 ช่วง ประกอบด้วยบทนำ 1) ซึ่งเป็นบทนำเรื่องก่อนเข้าสู่เนื้อหาในประเด็นต่อไป 2) ความเชื่อของตำนานมูลศาสนาสู่ภาพอดีตพระพุทธเจ้า สาระหลักกล่าวการอารัมภบทของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับคติชนของกลุ่มคนและคติในทางพระพุทธศาสนาและตำนานศาสนาที่เป็นความดลใจในการสร้างงานจิตรกรรมไทยภาพอดีตพระพุทธเจ้า 3) ภาพอดีตพระพุทธเจ้าในประเทศไทย 4) ภาพจิตรกรรมอดีตพระพุทธเจ้าในสมัยอยุธยา และ 5) บทสรุปอันเป็นข้อประมวลสารัตถะจากการนำเสนองานองค์ความรู้ของภาพจิตรกรรมอดีตพุทธเจ้าในงานศิลปกรรมไทย
สมัยอยุธยา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2539). การดูแลรักษาศิลปโบราณวัตถุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้า ในกรุล่างของพระปรางค์ วัดราชบูรณะ. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/.
จิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้า ในคูหาปรางค์ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/.
จิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้า วัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/.
จิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชบุรี. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/.
จิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้าในคูหาปรางค์ ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/.
มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2557). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). พระไตรปิฏกศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สันติ เล็กสุขุม. (2522). วิวัฒนาการของชั้นประดับลวดลาย เเละลวดลายสมัยอยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
สันติ เล็กสุขุม. (2533). จิตรกรรมแบบประเพณีและแบบสากล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สันติ เล็กสุขุม และกมล ฉายาวัฒนะ. (2524). จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2502). พุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.