นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด มาณวิกา

Main Article Content

ฉัตราภรณ์ ขวัญเมือง
ศุภกานต์ บึงอ้อ
กนกวรรณ ฉิมเกิด

บทคัดย่อ

นาฏศิลป์สร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดง “มาณวิกา” ซึ่งหมายถึงผู้หญิงในภาษาบาลี ผู้หญิงในที่นี่ผู้สร้างสรรค์ให้ความหมายว่าหมายถึงผู้หญิงที่แปลว่าเมีย โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายตราสามดวง กฎพระไอยการลักษณะผัวเมีย จากตำรา และเอกสารวิชาการ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดง จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยในอดีตมีค่านิยมการมีเมียหลายคน โดยเห็นว่าเป็นการแสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และการเมืองอีกด้วย ทั้งยังมีกฎหมายเป็นฐานรับรองความถูกต้องชอบธรรม ที่ปรากฎในกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ตราขึ้นครั้งสมัยอยุธยา มีชื่อเรียกว่า “พระไอยการลักษณะผัวเมีย”  โดยได้กล่าวถึงประเภทของเมียไว้ถึง 3 ประเภท คือ 1. เมียกลางเมือง หมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือให้เป็นเมียชายหรือภรรยาหลวง 2. เมียกลางนอก หมายถึง อนุภรรยาหรือเมียน้อย 3. เมียกลางทาษี หมายถึง เมียทาส นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด “มาณวิกา” ได้แบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 “ดรุณี” นำเสนอผู้หญิงผ่านวิถีชีวิต ช่วงที่ 2 “เปรมปฏิพัทธ์” นำเสนอ การร่วมรักของชายหญิงที่เป็นผัวเมียกันของเมียทั้ง 3 ประเภท  และช่วงที่ 3 “เรือนภิรมย์” นำเสนอชนชั้นฐานะ ความเป็นอยู่ของเมียทั้ง 3 ประเภทบนเรือน กระบวนท่าของการแสดงนั้นนำโครงร่างของท่าพื้นฐานของนาฏศิลป์ไทยมาปรับปรุง ประยุกต์ ตลอดจนการสร้างสรรค์กระบวนท่าขึ้นใหม่ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นฐานนาฏศิลป์ไทย การแต่งกายพัฒนามาจากการแต่งกายของสตรีในสมัยอยุธยาตอนต้น โดยผลจากนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด “มาณวิกา” นี้ จะเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่มีประโยชน์ทางการศึกษาที่จะสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ในสถาบันครอบครัว จารีตประเพณี และบริบทของสังคมสมัยอยุธยาในการแสดงอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำพล จำปาพันธ์. (2565). มนุษย์อยุธยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2550). อยุธยา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชิมอน เดอ ลาลูแบร์. (2548). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2533). ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.

ธวัชชัย ภูหลวง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างผัวเมีย : กรณีศึกษาจากกฎหมายตราสามดวงในพระอัยการลักษณผัวเมีย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 5(2), 1-17.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพมหานคร: อินฟอร์มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล.

พวงผกา คุโรวาท. (2535). คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพมหานคร: รวมสาสน์.

ฟาน ฟลีต. (2546). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

เรณู โกศินานนท์. (2544). นาฏยศัพท์-ภาษาท่านาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2549). กฎหมายตราสามดวง : หน้าต่างสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสนีย์ ปราโมช. (2559). กฎหมายสมัยอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2552). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สุพรรณี บุญเพ็ง. (2542). ประวัติบัลเล่ต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). นาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์. (2513). กฎหมายไทยเล่ม 1. พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.