การประดิษฐ์ดอกกุหลาบจากใบผักตบชวา ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นพา ลีละศุภพงษ์
ประกาศิต วรรณยศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการประดิษฐ์ดอกกุหลาบด้วยใบผักตบชวา 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ดอกกุหลาบจากใบผักตบชวา 3) ศึกษาต้นทุนในการผลิตดอกกุหลาบประดิษฐ์จากใบผักตบชวาในเชิงการค้า ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยสำรวจความพึงพอใจ จากกลุ่มประชากร 2 กลุ่ม คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน (2) นักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บุคคลทั่วไป จำนวน 100 ท่าน และสถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ใบผักตบชวาที่เหมาะสมสำหรับการนำมาประดิษฐ์ คือระหว่างใบที่ 3-4 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบใบ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 40 นาที และนำไปอัดในเครื่องอัดกลีบดอกไม้ โดยใช้ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส ในเวลา 3 นาที การเคลือบจะมีความเงาและคงทนมากกว่าการไม่เคลือบและด้านความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 10 ท่าน โดยมีความชอบโดยรวมต่อดอกกุหลาบจากผักตบชวาที่เคลือบสารมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยคุณลักษณะทางด้านความพึงพอใจ ได้แก่ ด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้ ด้านความคงทนแข็งแรง ด้านความสวยงาม ด้านความเงางาม ด้านความเหมาะสมของสี ด้านประโยชน์ของการนำมาใช้ได้จริง และด้านความชอบโดยรวม มีคะแนนเท่ากับ 7.80±1.23,7.50±1.08, 7.20±1.14, 7.30±1.49, 7.70±1.34, 7.40±1.08, 8.00±1.05, และ7.50±1.27 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อเข็มกลัดดอกกุหลาบจากใบผักตบชวา ด้านวัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม ด้านความสวยงาม ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.58±0.77, 8.71±0.64, 8.65±0.58 อยู่ในระดับที่ความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา ด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้ ด้านความเหมาะสมของสี ด้านประโยชน์ของการนำมาใช้ได้จริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.31±0.72, 8.42±0.79, 8.44±0.85 อยู่ในระดับที่ความพึงพอใจมาก รองลงมา ด้านความคงทนแข็งแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.35 อยู่ในระดับที่ความพึงพอใจปานกลาง สำหรับต้นทุนการผลิตภัณฑ์ดอกกุหลาบจากใบผักตบชวา พบว่า มีราคาต้นทุนรวม เท่ากับ 31.63 บาท คิดค่าแรงขั้นต่ำ ค่าพลังงาน ค่าบรรจุภัณฑ์ รวมเท่ากับ 97.10 บาท ต่อ 1 ดอก ถ้าขายแบบมีบรรจุภัณฑ์ ราคา 1 ช่อ เท่ากับ 125.- บาท ได้กำไร 15.- บาท แบบไม่รวมบรรจุภัณฑ์ ราคาแบบรวมบรรจุภัณฑ์ 1 ช่อ ราคา 108.- บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

ไกรรัช เทศมี. (2562). การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 5(1), 15-23.

ชัชพล ไชยพร. (2565). สืบปมข้อกล่าวหา...ใครนำ "ผักตบชวา" เข้ามาสู่เมืองไทย?. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_1382

นัฐ จันทโรทัย. (2567). การออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาของชุมชนบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 18(1)

บุษรา บรรจงการและ ยุทธนา พรรคอนันต์. (2565). การศึกษาแนวคิดต่อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนและการวิจัยของผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16 (11) : 66-78

พาทินนุช บุญโจมและขนิษฐา จูมลี. (2557). ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษย่น. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566, จาก https://rtificialflowers.blogspot.com/

รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าไหม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ลาวัลย์ ขันเกษตร. (2565). การหาอัตราส่วนผสมของผักตบชวาเพื่อพัฒนาเป็นฝ้าเพดาน. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 31(2), 112-129.

สุณีย์ บุญกำเนิด. (2556). การประดิษฐ์ดอกไม้ด้านวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ไอเดียสโตร์.