บทวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการเมืองกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153)

Main Article Content

สรวิชญ์ ขุนเศรษฐ์

บทคัดย่อ

บทวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการเมืองกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148- 2153) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำความเข้าใจถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสภาพการเมืองหลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 โดยใช้รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า รัชสมัยดังกล่าวกรุงศรีอยุธยามีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตขึ้นโดยมีการค้าจากตะวันตกเป็นปัจจัยสนับสนุนความเจริญที่สำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะบทบาทของบริษัทการค้าอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C) และการกลับมาทำการค้าผ่านระบบบรรณาการกับจีนได้อย่างเต็มรูปแบบหลังการกลับมามีเอกราชอีกครั้งตั้งแต่ครั้งแผ่นดินพระนเรศวร สภาพเศรษฐกิจอยุธยาที่เจริญเติบโตนี้สะท้อนผ่านการออกกฎพระอัยการ เก็บภาษีเพิ่มมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเพื่อดึงผลประโยชน์ทางการค้าเข้าสู่ราชสำนักและกลุ่มชนชั้นปกครองให้มากที่สุด ในขณะที่สภาพทางการเมืองนั้นพบว่าทรงพยายามลดความตึงเครียดระหว่างอาณาจักรลงด้วยการเปลี่ยนเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีมากยิ่งขึ้น และทรงพยายามสำรวจกำลังคนทั่วราชอาณาจักรเพื่อการควบคุมกำลังคนที่ชัดเจนและอาจป้องกันการก่อกบฏ สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในอาณาจักรมากกว่าการแผ่ขยายอำนาจอาณาจักรออกไปยังรัฐห่างไกลเช่นครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร อย่างไรก็ดีปลายรัชสมัยกลับพบว่ามีความสั่นคลอนทางการเมืองอีกครั้ง อาจเป็นเพราะการขยายตัวของความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นจากการค้าอย่างฉับไวและมีกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ทางการค้านี้เป็นกลุ่มชนชั้นปกครองในอยุธยาทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่มีกลุ่มอำนาจพร้อมท้าทายอำนาจวังหลวงได้ง่ายขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2513). เอกสารของฮอลันดา สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2151-2163 และ พ.ศ.2167-2185. ม.ป.ท

กรมศิลปากร. (2541). เอกสารของฮอลันดา สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2151-2163 และ พ.ศ.2167-2185. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

โครงการสืบสารมรดกวัฒนธรรมไทย. (2542). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ : คอมแพคท์พริ้น, หน้า 19

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2563). ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่.

กรุงเทพฯ : มติชน

ตรงใจ หุตางกูร. (2561). การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศักดิโสภาการพิมพ์

นายต่อ (แปล). (2562). มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิติ้บุ๊คส์

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2561). สยามศึกษาในสายตาชาวฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

พันจันทนุมาศ (เจิม). (2559). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี: ศรีปัญญา

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์, หน้า 126 - 128

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2559). หมิงสือลู่-ชิงสือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วย สยาม และ หนังสือระยะทางราชทูตไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งแต่ ณ เดือน 8 ปีกุญตรีศกและปี ชวดจัตวาศก ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอินทรมนตรีแย้ม ได้เรียบเรียง ไว้ในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558.

ศุภวัฒย์ เกษมศรี (พลตรี หม่อมราชวงศ์ ; แปล). (2563). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.