กลยุทธ์การจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชญาพัฒน์ เลิศอำนาจกิจเสรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์ ถ่ายทอด ขับเคลื่อน รวมถึงบทบาทภาครัฐในการจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือคณะกรรมการบริหารและผู้บริหารของนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบกำหนดรหัสจำแนกข้อมูล สร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลและการบูรณาการกลุ่มข้อมูล การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า


ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดกลยุทธ์การจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอาศัยการจัดการความรู้ โดยการสร้างและรวบรวมความรู้จากองค์ความรู้ภายนอก คือ การจ้างผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาวิจัยเรื่องน้ำ ดินและการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ร่วมเสนอรูปแบบกลยุทธ์เชิงป้องกัน และการรวบรวมความรู้จากภายในนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง ผนวกกับข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐมาวิเคราะห์ ทำแผนปฏิบัติการ กำหนดแนวทางในการสื่อสาร การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ สถานีสูบน้ำ ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมในสภาวะวิกฤต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลทิพย์ พูนศิริวงศ์ และรุ่งนภา พิตรปรีชา. (2556). การสื่อสารประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์ในการสื่อสารของรัฐบาลในภาวะวิกฤตอุทกภัยปี 2554. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 6(1), 44-64.

ทิพย์สุดา ภูมิพาณิชย์ ยุทธนา ประณีต และเติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2560). การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อป้องกันสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 229-238.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รัตนไตร.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2558). ชุมชนกับความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษาตำบลบางช้าง จังหวัดนครปฐม. วารสารเกษมบัณฑิต, 16(2), 82-93.

รพรชัย อุทยารักษ์ เกียรติชัย วีระญาณนนท์ และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงด้านการผลิตจากอุทกภัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคกลางตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 204-216.

สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2564). บรรยายสรุปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2564. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, ค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565, จากhttps://ww2.ayutthaya.go.th/ebook

อุทัย เลาหวิเชียร และสุวรรณี แสงมหาชัย. (2560). การบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(2), 111-127.

เอกราช บุญเริง และอโณทัย หาระสาร. (2561). กลยุทธ์ในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 100-115.

เอกราช บุญเริง อโณทัย หาระสาร และชนะบูรณ์ อินทรพันธุ์. (2563). การเสริมสร้างศักยภาพในการลดความเสี่ยงด้านอุทกภัยของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 12(1), 204-224.

เอกราช บุญเริง และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการอุทกภัย และภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(3), 100-118.

Marquardt M. J. (2011). Building the learning organization: achieving strategic advantage through a commitment to learning. 3rd ed. Boston: Nicholas Brealey Publishing.

Mintzberg, H. (1994). The Rise and Fall of Strategic Planning. New York: Prentice Hall