ที่มาและความสำคัญของเขื่อนพระราม 6 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธานี สุขเกษม
พิสิษฐิกุล แก้วงาม
โดมธราดล อนันตสาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและความสำคัญของเขื่อนพระราม 6 ซึ่งก่อสร้าง และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2467 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าในต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศสยามประสบปัญหาฝนแล้งเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 3 ปี ทำให้การเพาะปลูกข้าวในที่ราบภาคกลางได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเสนอว่าควรมีการเร่งรัดพัฒนาระบบชลประทานโดยด่วน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชอบด้วย จึงมีพระราชดำริให้ติดต่อขอผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษ คือ เซอร์โทมัส วอร์ด ในเวลาไล่เลี่ยกัน ได้มีการจัดตั้งกรมทดน้ำขึ้นในปี พ.ศ. 2457 เซอร์โทมัส วอร์ด ได้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบชลประทานสมัยใหม่แล้วเสนอว่า ควรมีการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็ก 5 โครงการ ในที่สุดรัฐบาลไทยตกลงใจก่อสร้างโครงการชลประทานป่าสักใต้ ในปี พ.ศ. 2458 คือ การก่อสร้างเขื่อนทดน้ำปิดกั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “เขื่อนพระเฑียรราชา” ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เขื่อนพระราม 6” การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2459 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2467 ซึ่งเขื่อนพระราม 6 นี้เป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในเขตจังหวัดสระบุรี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และทุ่งรังสิต ปทุมธานี เป็นจำนวน 680,000 ไร่ โดยสรุปผลจากการสร้างเขื่อนพระราม 6 ทำให้ชาวนาได้รับประโยชน์จากการเพาะปลูกข้าวและส่งข้าวออกจำหน่ายในต่างประเทศได้นับเป็นล้านหาบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกพร คุณภูริปัญญา. (2551). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยนโยบายน้ำในสังคมไทย : ศึกษาในช่วงปี พ.ศ.2503-ปีปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมชลประทาน. (2531). ประวัติกรมชลประทาน. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2565, จาก http://www.rid.go.th/history/php.

“การเสด็จพระราชดำเนินเปิดการทดน้ำท่าหลวง”. ราชกิจจานุเบกษา. 41 (14 ธันวาคม 2467). 2918-2925.

โกศล ประสงค์สม. (2539). การพัฒนาการชลประทาน อดีต ปัจจุบัน และอนาคต : กรณีศึกษาโครงการรังสิต. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

“คำกราบบังคมทูลพระกรุณาของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในการเสด็จพระราชดำเนินเปิดการ ทดน้ำท่าหลวง”. ราชกิจนานุเบกษา. 41 (14 ธันวาคม 2467) : 2926-2946.

จอห์นสตัน, เดวิด บรูซ. (2530). สังคมชนบทและภาคเศรษฐกิจข้าวของไทย พ.ศ. 2423 – 2473.

พรภิรมณ์ เอี่ยมธรรม และคณะ (แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์.

จักรกริช สังขมณี. (2555). ชลกร : ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยความรู้และการจัดการน้ำสมัยใหม่ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์. 42 (2), 93-115.

จิตรงาม วัฒนพันธุ์. (2526). นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453-2468). ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยยุทธ สุขศรี และโกศล ประสงค์สม. (2537). แหล่งน้ำและชลประทานในพื้นที่รังสิต ใน ร้อยปีคลองรังสิต. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ และคนอื่นๆ (บรรณาธิการ). หน้า 138-166. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิลวี มาดดาลินา ฮอลลิงกา. (2524). การจัดการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

นิตยา มาพึงพงศ์. (2517). โครงการชลประทานในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2 (1), 44-52.

พงศกรณ์ ผะอบเพ็ชร. (2559). การพัฒนาระบบชลประทานในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ.2488-พ.ศ.2507. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2517). การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

“พระราชดำรัสตอบในการทรงเปิดเขื่อนและประตูระบายน้ำ ตำบลท่าหลวง เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2467” ราชกิจจานุเบกษา. 41 (14 ธันวาคม 2467) : 2947-2949.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2516). เปรียบเทียบผลงานของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พ.ศ.2435-2475 (ค.ศ.1892-1932). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชัย สิงห์ทอง. (2524). นโยบายส่งเสริมการเกษตรกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เย โฮมาน วานเดอร์ ไฮเด. (2555). รายงานโครงการทดน้ำไขน้ำสำหรับเขตที่ราบแห่งลาดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสวัสดิ์ วัฒนายากร ณ วัดเทพศิรินทราวาส 30 กันยายน พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด

ศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ. (2565). การพัฒนาระบบชลประทานของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2468-2477. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ

สุนทรี อาสะไวย์. (2521). การพัฒนาระบบชลประทานในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2431 ถึง พ.ศ.2493. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรี อาสะไวย์. (2530). ประวัติคลองรังสิต : การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ.2431-2457. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุล อิ่มโอชา. (2524). สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1 (ก-ม). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อดุล อิ่มโอชา. (2525). อธิบายคำในสารานุกรมและบทความบางเรื่องของอดุล อิ่มโอชา. พิมพ์ในงานฌาปนกิจนางชื้น อิ่มโอชา ณ วัดตรีทศเทพ. 26 พฤษภาคม 2525. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อินแกรม, เจมส์ ซี. (2552). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย, 1850-1970. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Brummelhuis, Han ten. (2005). King of the Waters : Homan Van de Hei de and the Origin of Modern Irrigation in Siam. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies.

Small, Leslie E. (1973). “Historical Development of the Greater Chao Phya Water Control Project : An Economic Perspective” Journal of Siam Society. Vol.1, 1-24.