ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)


โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร (documentary research) ผลการวิจัยพบว่า 1. ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะจิตรกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือมรดกวัฒนธรรมทางภูมิปัญญา เช่น อาหารไทยโบราณ โรตีสายไหม กุ้งแม่น้ำเผา ขนมไทย งานช่างฝีมือดั้งเดิม ศิลปะการแสดงโขนอยุธยา และงานประเพณีเทศกาลงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 2. แนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีดังนี้ 1) การสร้างแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนรวมถึงการยกระดับและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว 3) ส่งเสริมศักยภาพของชุมชนโดยการจัดโครงการ ฝึกอบรมภาษาต่างประเทศให้กับบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็กและประชาชนทั่วไป 4) จัดทำคู่มือ หนังสือท่องเที่ยว หนังสือเกี่ยวกับร้านอาหารเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว 5) ภาครัฐควรสนับสนุนสถานที่ในการถ่ายทำภาพยนต์ ซีรีย์ หรือละคร 6) ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2565). กระทรวงวัฒนธรรมเดินหน้าผลักดัน Soft Power ดึง “เบิร์ด- ธงชัย” ถ่ายทอดเสน่ห์วัฒนธรรมผ่านบทเพลง “ฟ้อนทั้งน้ำตา” ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567 จาก https://www.thaimediafund.or.th/020366-2/

กันตลักษณ์. (ม.ป.ป). soft power ตามแนวคิดของJoseph Nye. นาวิกาธิปัตย์สาร. 32-47

กุลแก้ว คล้ายแก้ว คณิต เขียววิชัย. (2566). บริบทของพื้นที่และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. วารสารปัญญาพัฒน์ 5(2), 25-24

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ชิตาวีร์ สุขคร. (2562). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. Journal of Sustainable Tourism Development, 1(2), 1-7

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ เสรี วงษ์มณฑา ชุษณะ เตชคณา และณัฐพล ประดิษฐ์ผลเลิศ. (2559). แนวทางพัฒนาการม่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 4(2), 33-45

ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2545). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วิยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ โครงการศึกษาวิจัยและ จัดทำกฎหมายวาด้วยการคุมครองมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ

ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (2564). ความเป็นพหุสังคมอยุธยากับวัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยวตามรอยเสด็จประพาสต้นพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 179-188

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2561). ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สั่งการทุกหน่วยเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวตามรอย “ออเจ้า..บุพเพสันนิวาส” ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNECO6103200010004

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์:soft power เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีจำกัด

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). รมว.วัฒนธรรม เปิดกิจกรรมส่งเสริม SOFT POWER เบิกฟ้าอโยธยา ย้อนเวลาไปกับ “พรหมลิขิต” ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ ช่อง 3 ถอดบทเรียนหาแนวทางผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ผ่านละคร ด้านยอร์จ ฟอลคอน-แม่ปราง-เพิ่ม พาชมความงามวัดไชยวัฒนารามยามราตรี ให้คนรุ่นใหม่รักศิลปวัฒนธรรมและท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างรายได้แก่ชุมชนและประเทศ. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://ayutthaya.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/234448

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. (พ.ศ.2550-2554). ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม. 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=5747&filename=develop_issue

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). 417 ปี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566 จาก http://www.ayutthayalocal.go.th/content/history

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ปรากฏการณ์แร็ปเปอร์สาวมิลลิ กับการกิน “ข้าวเหนียวมะม่วง”. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม. 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2371135

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ได้เวลา “ท่องศัพท์” อีกแล้ว Soft Power+Hard Power? ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน. 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2376456

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). รู้จัก 5F ศักยภาพ Soft Power ใหม่ไทย ที่ปลุกความสำคัญของการท่องเที่ยวไทยให้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2701838

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). Soft Power คืออะไร มีลักษณะอย่างไร อ่านความหมาย และตัวอย่างที่นี่. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2738450

Amarintv online. (2566). สว.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แนะใช้ ภูมิพลังวัฒนธรรม แทน ซอฟต์พาวเวอร์ ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567 จาก https://www.amarintv.com/news/detail/191423

Garrod, B & Fyall, A. (1998). Beyond the rhetoric of sustainable tourism? Tourism Management, 19(3) 199-212. doi: 10.1016/s0261-5177(98)00013-2

MICHELIN GUIDE. (2023). ถอดรหัสความอร่อยของโรตีสายไหม: ของหวานดีเด็ดที่ห้ามพลาดเมื่อไปเยือนถิ่นพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม. 2566 จาก https://guide.michelin.com/

MGR ONLINE. (2564). รัสเซล โครว์" ประทับใจไทย พร้อมโปรโมตการท่องเที่ยวอีกครั้ง ยันคนไทยให้การต้อนรับที่อบอุ่น. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม. 2566 จากhttps://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000106935

Thai PBS online. (2561). 5 มรดกโลกของไทย มีอะไรบ้าง?. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม. 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/276030

The Knowledge. (2564). Soft power. นิตยสารเพื่อพัฒนาความรู้แความคิดสร้างสรรค์, 4(22), มิถุนายน-กรกฎาคม

TNN online. (2566). "ลิซ่า BLACKPINK" พลัง Soft Power ททท.ทำเส้นทางปักหมุดตามรอยเที่ยวอยุธยา. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม. 2566 จาก https://www.tnnthailand.com/news/lifestyle/147919/