พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีการกระจายกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ตามอายุ อาชีพและรายได้ โดยศึกษาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ.2565-มีนาคม พ.ศ.2566) จำนวน 10 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ท่องเที่ยวแบบพักค้างคืนจำนวน 5 คน และ 2) กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวแบบไปเช้ากลับเย็นจำนวน 5 คน โดยการนำเสนอผลวิจัยที่ได้ในรูปแบบพรรณนา และใช้วิธี Triangulation คือ มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งสองกลุ่มและเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่าคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวและส่งผลต่อรูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว เป็นตัวแปรที่ทำให้สามารถคาดเดารูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ ส่วนองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น ความสวยงาม ความสะดวกสบาย ความน่าสนใจ เป็นต้น มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว และเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ นอกจากนี้กระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวประกอบด้วยหลายขั้นตอน พบว่าการที่นักท่องเที่ยวตัดสินใจเพื่อท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวใดแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง เป็นผลมาจากการที่แหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ มีองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวสอดคล้องกับคุณลักษณะของนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะท่องเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวนั้นเพราะองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2566. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.mots.go.th/news/category/706
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.mots.go.th/news/category/705
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://ayutthaya.go.th/travel-1/festivals.html
ณัฐฐินันท์ นันทสิงห์. (2561). พฤติกรรม และทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทย ภายหลังการรับชมละครเรื่องบุพเพสันนิวาส. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐอร เบญจปฐมรงค์และชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650392TheKnowledge_Travel.aspx
บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1): 160-167.
Dahiya, K. and Batra, D. (2016). Tourist decision making: Exploring the destination choice criteria. Asian Journal of Management Research, 7(2): 140-153.
Farmaki, A. (2012). An exploration of tourist motivation in rural settings: The case of Troodos, Cyprus. Tourism Management Perspectives. 2-3: 72-78.
Hennink, M. and Kaiser, B.N. (2022). Sample sizes for saturation in qualitative research: A systematic review of empirical tests. Social Science & Medicine, 292 (114523): 1-10.
Kotler, P. and Keller, K. (2021), Marketing Management. (16th ed.). London: Pearson.
Kraftchick, J., Bryd, E., Canziani, B. and Gladwell, N. (2014). Understanding beer tourist motivation. Tourism Management Perspectives. 12: 41-47.
Narangajavana, Y. et al. (2017). The influence of social media in creating expectations. An empirical study for a tourist destination. Annals of Tourism Research. 65: 60-70.
Seyidov, J. and Adomaitiene, R. (2016). Factor Influencing Local Tourists’ Decision-Making on Choosing a Destination: A Case of Azerbaijan. Ekonomika, 95(3): 112-127.
Varasteh, H., Marzuki, A. and Rasoolimanesh, S. (2014). Factors affecting international students’ travel behavior. Journal of Vacation Marketing, 21(2): 131-149.