การจัดการน้ำในพื้นที่รับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ผลกระทบและการต่อรองของผู้คนในพื้นที่

Main Article Content

อาทิตย์ ภูบุญคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปฏิบัติการ กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่รับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึง (2) ศึกษาผลกระทบและการเมืองของการต่อสู้ต่อรองของตัวแสดงต่าง ๆ ในพื้นที่รับน้ำบางบาล  ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายพื้นที่รับน้ำบางบาลไปปฏิบัติได้เกิดกลไกการจัดการน้ำแบบรวมศูนย์โดยรัฐผ่านการบังคับใช้ปฏิทินการปลูกข้าวใหม่ กรมชลประทานเป็นผู้มีอำนาจหลักทั้งการจัดสรรน้ำและการปล่อยน้ำเข้าทุ่ง แม้ในทุ่งบางบาลจะมีการสถาปนากลไกการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจในการจัดการน้ำ แต่ชุมชนกลับไม่ได้มีอำนาจจัดการน้ำอย่างแท้จริง การจัดการน้ำข้างต้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการทั้งในช่วงน้ำท่วมและในช่วงขาดแคลนน้ำ รวมถึงได้เปลี่ยนสถานะของน้ำให้กลายเป็นสินค้าที่ชาวนาต้องจ่ายเพื่อเข้าถึงน้ำ สภาวการณ์เช่นนี้ได้นำไปสู่การลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อรองของชาวบ้าน 2 รูปแบบคือ การต่อสู้ต่อรองในพื้นที่สื่อผ่านเพจเฟซบุ๊ค “อยุธยา-Ayutthaya Station” ที่แม้จะเป็นสื่อด้านการท่องเที่ยวในจังหวัด แต่ต้องมานำเสนอปัญหาเชิงโครงสร้างของการจัดการน้ำโดยรัฐ สื่อยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและทำหน้าที่จัดตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบเพื่อเรียกร้องปัญหาด้านน้ำอีกด้วย และการต่อสู้ต่อรองในมิติของการผลิตสร้างความรู้โดยนักวิจัยชาวบ้านซึ่งมุ่งศึกษาปัญหาการจัดการน้ำ โดยเปิดพื้นที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มผลิตความรู้ร่วมกัน และนักวิจัยชาวบ้านยังได้ยกระดับความรู้เข้าไปต่อรองกับรัฐส่วนกลางเพื่อสร้างการจัดการน้ำที่เป็นธรรมและยั่งยืนกว่าเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2548). การจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.

กองบรรณาธิการ. (2562(ก)). กูอยากทำนา. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก www.waymagazine.org

กองบรรณาธิการ. (2562(ข)). 15 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ทำกินของชาวนาแห่งบางบาล. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก www.waymagazine.org

คมชัดลึกออนไลน์. (2555). เล็งใช้ ‘บางบาล’เป็นโมเดลทำแก้มลิง. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก www.komchadluek.net

คมลักษณ์ ไชยยะ. (2566, 20 มีนาคม). นักวิชาการ. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

ชาวบ้านทุ่งบางบาลคนที่ 1. (2565, 18 พฤษภาคม). ประชาชนในพื้นที่. อำเภอบางบาล. สัมภาษณ์.

ชาวบ้านทุ่งบางบาลคนที่ 3. (2565, 8 เมษายน). ประชาชนในพื้นที่. อำเภอบางบาล. สัมภาษณ์.

ชาวบ้านทุ่งบางบาลคนที่ 2. (2566, 17 มีนาคม). ประชาชนในพื้นที่. อำเภอบางบาล. สัมภาษณ์.

ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล และคณะ. (2551). โครงการนำร่องการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำนองเพื่อการบรรเทาอุทกภัยขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตามแนวพระราชดำริ “แก้มลิงพื้นที่บางบาล(1)”.

ประกาศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.(2561). เรื่อง ปรับเปลี่ยนระบบปลูกข้าวเหลื่อมเวลา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2561.

ประกาศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). เรื่อง ปรับเปลี่ยนระบบปลูกข้าวเหลื่อมเวลา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2565.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2541). การเมืองบนท้องถนน 99 วัน สมัชชาคนจน และประวัติศาสตร์การเดินขบวน ชุมนุมประท้วงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.

มติชน. (2560, 23 ตุลาคม). ส่องแผนจัดการน้ำ 2.4 แสนล.3 ปี ฉลุยจิ๊บๆ…‘บิ๊กโปรเจ็กต์’นิ่งสนิท, มติชน.

ยอดพล เทพสิทธา และฐานิดา บุญวรรโณ. (2561). รื้อสร้างบางระกำโมเดล: ความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ. นิติสังคมศาสตร์. (11), 142-167.

ระเบียบกรมชลประทาน. (2556). ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมค่ากระแสไฟฟ้าของเกษตรกรในเขตโครงการประเภทสูบน้ำด้วยไฟฟ้าของกรมชลประทาน พ.ศ. 2556.

เรณู กสิกุล และคณะ. (2564). โครงการการมีส่วนร่วมในการเสริมศักยภาพแหล่งกักเก็บน้ำทางการเกษตรในพื้นที่ทุ่งรับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

สันติ จียะพันธ์. (2565, 1 เมษายน). ภาคประชาสังคม. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

สัมภาษณ์แบบกลุ่ม. (2565, 1 เมษายน). ประชาชนในพื้นที่. อำเภอบางบาล. สัมภาษณ์.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2563). โครงการศึกษาจัดลำดับความสำคัญแผนงานเพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รายงานการศึกษา รายงานฉบับสุดท้าย (Final Report). ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.

TNN Online. (2564). เปิดความจริง “ทุ่งบางบาล” เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำแทนคนกรุง. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก www.tnnthailand.com

Dore et all. (2012). A framework for analyzing water governance complexes, illustrated in the Mekong Region. Journal of Hydrology. 466-467(2012), 23-36.

Jakkrit Sangkhamanee. (2015). From Pak Mun to Xayaburi: the back water and spillover of Thailand’s hydropower politics. In Matthews and Geheb (eds.). Hydropower development in the Mekong Region: Political, socio-economic, and environmental perspectives. Abingdon, Oxon: Routledge, pp. 9-20.

Margreet Zwarteveen et al. (2017). Engaging with the politics of water governance. WIREs Water. (4), 1-9.

Middleton et al. (2017). Politics of knowledge and collective action in health impact assessment in Thailand: The experience of the Khao Hinsorn community. In Suhardiman, Nicol and Mapedza (eds.). Water Governance and Collective Action. Newyork: Routledge, pp. 70-81.

Ostrom, E. (1990). Governing The Commons: The Evolution of institutions for Collective Action. Cambridge, UK: Cambridge University Press.

Ostrom, E., Dietz, T., Dolsak, P. and Stern, P.C. (2002). The Drama of The Commns. Washington, DC: National Academy Press.

Suhardiman et al. 2017(a). Introduction In Suhardiman, Nicol and Mapedza (eds.). Water Governance and Collective Action. New York: Routledge, pp. 1-8.

Suhardiman et al. 2017(b). Power and politics in water governance: Revising the role of collective action in the commons. In Suhardiman, Nicol and Mapedza (eds.). Water Governance and Collective Action. New York: Routledge, pp. 9-20.