การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) เพื่อสอบถามความคิดเห็นด้านศักยภาพการท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุน กลุ่มที่ 2 ผู้นำชุมชน และกลุ่มที่ 3 ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวนทั้งสิ้น 35 คน
ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชนบ้านเกาะเกิด ได้แก่ ศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งของชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบกับฐานการเรียนรู้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนที่มีความหลากหลายและที่พักโฮมสเตย์ริมน้ำที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกทั้งยังมีคณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนที่เข้มแข็ง และยังพบว่าแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์ประกอบทางกายภาพ 2. แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 3. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 4. แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดทางการท่องเที่ยวและ 5. แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กุลวดี ม้ายจีน และคณะ. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 77-86.
ขวัญฤทัย เดชทองดำ. (2563). ความสำคัญของคุณภาพการบริการสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่องเที่ยวภายใต้วิกฤติ Covid 19. วิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 3(21), 317–326.
ธง คำเกิด และ วัชรพันธ์ แสนสิทธิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางแม่หม้ายตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(3), 222-232.
พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวาในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, เอกสารการประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community”. 11-13 มิถุนายน 2557 น.321-329.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และวราภรณ์ ปัญญาวดี. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 97-104.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย, 33(2), 331-366.
วรรณภา แตกปัญญา. (2559). เรื่องแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2543). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(1), 12-25.
Richards, G. (2010a). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (pp. 78–90). New Mexico. USA.
Richards, G. (2010b). Creative Tourism and Cultural Events [On – line]. Available: http://www.docstoc.com/docs/68264727/Creative-tourism-and-cultural-events
Richards, G. (2011). Creativity and tourism: the state of the art. Annals of Tourism Research 38:1225-1253.