คติความเชื่อ เรื่อง สมเด็จพระจักรพรรดิราช ที่ปรากฏในพระนามพระราชโอรสพระราชธิดา รัชกาลที่ 5

Main Article Content

กฤตนันท์ ในจิต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติพระจักรพรรดิราชในชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะสยามประเทศที่รับเอาคติความเชื่อในเรื่องดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มสถานะทางการปกครองของพระมหากษัตริย์เข้าสู่สถานะพระเจ้าจักรพรรดิราช ซึ่งมีหลักแนวคิด และทฤษฎีอยู่ 3 องค์ประกอบ คือ 1. บุญกุศลที่ทำให้คนใดคนหนึ่งมาเกิดเป็นพระจักรพรรดิราช 2. สิ่งมงคลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งพระมหาจักรพรรดิราช และ 3.แนวการปฏิบัติตนของพระมหาจักรพรรดิราช


จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย และนำมาเรียบเรียงพบว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสืบพระราชสันตติวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี มีคติความเชื่อในเรื่องพระจักรพรรดิราชผ่านการปกครอง ธรรมเนียมประเพณี และในประเด็นที่ผู้ศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า มีความเกี่ยวเนื่องกันในคติพระจักรพรรดิราชอย่างมีนัยสำคัญ คือ การพระราชทานพระนามพระราชโอรส พระราชธิดา ซึ่งความหมายที่ถอดออกมานั้นมีความสัมพันธ์และสอดคล้องเกี่ยวกับรัตนะทั้ง 7 และจากการศึกษาทำให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณสมบัติเทียบเคียงเยี่ยง
พระมหาจักรพรรดิราช

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

กฤตนันท์ ในจิต. (2564). ความงดงาม 3 ประการ ที่ปรากฏในพระอนุสาวรีย์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, 42 (7).

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2479). พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. กรุงเทพฯ: สยามพณิชยการ.

ธรรมธร ไกรก่อกิจ. วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าสู่การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. ค้น 10 มิถุนายน 2559, จาก www.yudtini.com/index.php/knowledge/dhamma/177-how-to-become-king-of-king

ธานุรา วิไลวานิช และปิยะ มีอนันต์. (2563). แนวทางการสืบสานคติพระจักรพรรดิราช สัญลักษณ์แห่งอำนาจในงานศิลปกรรม ณ วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของพระยาไชยวิชิต (เผือก). วารสารอยุธยาศึกษา. 12(2).

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (มปป.). พระมหาจักรพรรดิราช. กรุงเทพฯ: สารศิลปากร.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2550). วัดนางนอง. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก www.thapra.lib.su.ac.th /webtemple/index.php?option=com_content &view=article&id= 9&Itemid=11.

ลือชัย พิศจำรูญ. (2559). ภาพวาดพระแก้วมรกตทรงเครื่อง 3 ฤดู บนผืนผ้าที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://www.blockdit.com/posts/ 6356052d8e7af80f43ed74a2.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2566). ลูกแก้วเมียขวัญ พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2559). ความหมายของ จักรพรรดิราช พิธีกรรมและสัญลักษณ์ที่สำคัญ. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธันวาคม 2559.

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2559). อ้างใน สายชล สัตยานุรักษ์. “จักรพรรดิราชธรรมิกราชาธิราช กรุงรัตนโกสินทร์,” ใน จักรพรรดิราช ที่พึ่งของมหาชนชาวสยาม. เอกสารวิชาการ.

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. (2548). จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ : พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (2547). ช้าง พาหนะทรงคู่องค์พระมหากษัตริย์. กรุงเทพฯ: ความรู้คือประทีป.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2564). พระแก้วมรกต ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: มติชน

หอสมุดพิกุลสิลปาคาร. (2561). พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566, จาก https://www.facebook.com/PikulKnowledgeCenter.

เอนก มากอนันต์. (2562). จักรพรรดิราช คติอํานาจเบื้องหลังชนชั้นนําไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

Chirphy. (2561). พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2566, จาก .https://www.facebook.com/Chirphy /posts/.

VOGUE Thailand. (2561). ร้านเพชรของในหลวง! เปิดจดหมายประวัติศาสตร์ที่ ร.5 ให้ Cartier เป็นร้านเพชรหลวงหนีภัยล่าอาณานิคม. https://www.vogue.co.th/ fashion/article/jewellertotheking