การศึกษารูปแบบกระสวนจังหวะในวงดนตรีประกอบการแสดงลำตัดของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธนกรณ์ โพธิเวส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและรูปแบบกระสวนจังหวะของดนตรีประกอบลำตัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาความแตกต่างของรูปแบบกระสวนจังหวะของดนตรีประกอบลำตัดในแต่ละคณะและบันทึกโน้ตอักษรไทยและโน้ตสากล (3) ศึกษาเจตคติ ของผู้นำคณะต่อการคงอยู่และพัฒนาดนตรีประกอบการแสดงลำตัด


กระบวนการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการวิจัยภาคสนาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากวงดนตรีลำตัด ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 4 วง คัดเลือกบุคคลให้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของวงดนตรีแต่ละวงแบบเจาะจง จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เนื้อหาและคำถามจากแบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า วงดนตรีลำตัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีการนำเข้ามาเริ่มแสดงเป็นกลุ่มแรกโดยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่ คณะของนายชาญชัย เอี่ยมสักขี หรือ ชาญชัย ศิษย์หวังเต๊ะ และคณะของนางจรัญ พาซอ หรือ แม่จรัญ เสียงทอง ในส่วนของรูปแบบกระสวนจังหวะที่ใช้ปัจจุบันมีอยู่แค่ 6 กระสวนจังหวะได้แก่ พม่า มอญ แขก จีน ลาว ฝรั่ง เป็นต้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกระสวนจังหวะในแต่ละคณะพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่จะมีความต่างในเรื่องของผู้นำจังหวะหรือคนตีกลองในแต่ละบุคคลจะมีความเชี่ยวชาญและเทคนิคที่ไม่เหมือนกัน โดยขึ้นอยู่กับความสามารถควบคู่กับความชำนาญของบุคคล นอกจากนี้ผู้นำมีเจตคติที่ดีต่อสายอาชีพของตนพร้อมทั้งยังมีความเชื่อว่าวงดนตรีประกอบการแสดงลำตัดจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก แต่ในการคงอยู่ยังมีความกังวลและน่าเป็นห่วง หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนเท่าที่ควร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรมการฝึกหัดครู: กรุงเทพมหานคร.

ชาติชาย เอี่ยมสักขี. (2565, 5 มิถุนายน). หัวหน้าคณะลำตัด ชาญชัย ศิษย์หวังเต๊ะ. ที่ทำการวงลำตัด ชาญชัย ศิษย์หวังเต๊ะ. สัมภาษณ์.

น้ำผึ้ง มโนชัยภักดี. (2554). การแสดงลำตัดคณะหวังเต๊ะ : การศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณาแห่งการสื่อสาร. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2535). ทฤษฎีการบันทึกโน้ตเพลงไทย. ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วาสนา ต้นสารี. (2532). ลำตัด : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.

วิชา เชาว์ศิลป์. (2541). ลำตัด. ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม: กรุงเทพมหานคร

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (2529). การละเล่นพื้นบ้านศูนย์สังคีตศิลป์ (2522-2524). โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร

สมศักดิ์ ขันธสอน. (2565, 7 มิถุนายน). หัวหน้าคณะลำตัด สมศักดิ์ หวังเล็ก. ที่ทำการวงลำตัด สมศักดิ์ หวังเล็ก. สัมภาษณ์.

สุริยา ขันธสอน. (2565, 7 มิถุนายน). หัวหน้าคณะลำตัด สุริยา เสียงพิณ. ที่ทำการวงลำตัด สุริยาเสียงพิณ. สัมภาษณ์.

ไสว ระยับภัย. (2565. 2 มิถุนายน ). หัวหน้าคณะลำตัดไพรัช บ่อตาโล่. ที่ทำการวงลำตัดไพรัช บ่อตาโล่. สัมภาษณ์.

อธิชนัน สิงหตระกูล. (2566). บันทึกประวัติลําตัดอยุธยา: ภูมิสาระในเพลงแปลงลําตัดชมเมืองของไพโซ๊บ เสียงทอง. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(1). 89-103.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2522). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทยภาค 1 ว่าด้วยหลักและทฤษฎีดนตรีไทย. สถาบันฝึกดนตรีและนาฏศิลป์ไทย: กรุงเทพมหานคร.

เอนก นาวิกกูล. (2528). สารานุกรมพื้นบ้านภาคกลาง. โรงพิมพ์พิฆเณศ: กรุงเทพมหานคร.