พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ต่อการเล่นพนันออนไลน์ของเยาวชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด
เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ
ปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน และ2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์ของเยาวชน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) จากประชากรที่เป็นกลุ่มเยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 35,506 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากเยาวชนระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง ระดับอาชีวศึกษา 3 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 3 แห่ง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5.00 จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนใช้สื่อออนไลน์มากที่สุดวันละ 6-10 ชั่วโมง เมื่อแบ่งประเภทของสื่อออนไลน์ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน พบว่า เยาวชนใช้เฟซบุ๊กเพื่อดูข้อมูลมากที่สุด ร้อยละ 49.30  เยาวชนใช้อีเมล และไลน์ในการติดต่อสื่อสารมากที่สุด ร้อยละ 58.20 และ 57.50 ตามลำดับ เยาวชนใช้แอปพลิเคชันเกม ทวิตเตอร์ ดูหนังฟังเพลง และอินสตาแกรมในยามว่างมากที่สุดร้อยละ 74.60, 74.60, 70.60 และ 63.40 ตามลำดับ


2) พฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์ของเยาวชน พบว่า เยาวชนเล่นพนันบิงโก ร้อยละ 34.80 โดยมีสาเหตุจากความต้องการความตื่นเต้นและเพลิดเพลินที่ร้อยละ 54.80 เริ่มเล่นการพนันด้วยตนเองมากที่สุด ร้อยละ 70.30 มีความถี่ในการเล่นแบบนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 59.80 เลือกเล่นกับเพื่อนหรือคนรู้จักเป็นอันดับแรก ร้อยละ 49.00 มีเงินลงทุนมีการพนันต่อเดือนอยู่ที่ 50 – 500 บาท ร้อยละ 64.30 มีการหาข้อมูลการเล่นจากสื่อบุคคลเป็นอันดับแรก ร้อยละ 74.30  เยาวชนเล่นพนันออนไลน์เกิดจากโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด ร้อยละ 33.00 ใช้เว็บไซต์พนันโดยตรง เช่น เว็บไซต์ฟุตบอล เว็บไซต์ใบ้หวย/ดูดวง เว็บไซต์เล่นเกมออนไลน์ เว็บไซต์คาสิโนออนไลน์ เป็นต้น เป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์การพนันมากที่สุด ร้อยละ 6.80 และใช้ แอปพลิเคชันอื่น ๆ เช่น สโบเบ็ต ฟีฟ่าออนไลน์ ดับเบิ้ลยู 88 เป็นต้น ในการเล่นการพนันมากที่สุด ร้อยละ 3.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2558). เจาะใจวัยรุ่นในการเสพสื่อจากหนังสือพิมพ์. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,925 วันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.thanonline.com.

ประชาธิป กะทา. (2560). สังคมวิทยาการศึกษาการพนัน. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2560, จาก hi.or.th/ download/ 685/.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด. (2555). ผลกระทบของการใช้สมาร์ตโฟนในโลกเสมือนต่อการมีปฏิสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตจริงในสังคม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ภัทรพร แจ่มใส. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการติการพนันของวัยรุ่นตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. 2554. ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี:สุโขทัยธรรมาธิราช. คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2555). ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุข. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://repository.au.edu/items/5ec27123-ac83-4c9c-82cd-909c6d67841a.

สราวุธ กายสะอาด. (2554). ปัญหาทางกฎหมายการพนันออนไลน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

สมสุข หินวิมาน. (2554). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.

อรพิณ ปานเกษม. (2558). ปัญหาทางกฎหมายในการคุวบคุมการโฆษณาการพนันออนไลน์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.