วิเคราะห์เพลงเรื่องที่ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์ของวงพาทยรัตน์ กรณีศึกษา: เพลงเรื่องนางหงส์เรื่องหงส์ทอง

Main Article Content

นภัสนันท์ จุนนเกษ
ปานหทัย วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา
ฉัตรชัย ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและขั้นตอนวิธีการบรรเลงเพลงเรื่องหงส์ทอง และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบ และลักษณะการผูกเพลงของเพลงเรื่องหงส์ทอง การวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการทางมานุษยดนตรีวิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า เพลงเรื่องหงส์ทอง เป็นเพลงเรื่องที่ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์ ใช้ประโคมในงานศพ  โครงสร้างเพลงเรื่องหงส์ทอง ประกอบด้วย เพลงหงส์ทอง (เพลงสามชั้น) เพลงโอ้ลาว (เพลงเร็ว) และเพลงสาลิกาแก้ว (เพลงหางเครื่อง) องค์ประกอบในการวิเคราะห์ประกอบด้วย รูปแบบของทำนอง รูปแบบของหน้าทับ กระสวนทำนอง และบันไดเสียง ซึ่งทั้ง 3 เพลงมีบันไดเสียงโด เป็นบันไดเสียงหลัก ในการผูกเพลงของเพลงเรื่องหงส์ทองประกอบด้วย 1) การประพันธ์เที่ยวเปลี่ยนเพลงหงส์ทอง สามชั้น 2) การเชื่อมรอยต่อระหว่างเพลงหงส์ทอง และทำนองนำเพลงเร็ว เป็นการวางกลอนให้จบเพลงแบบสมบูรณ์ เพื่อให้การเชื่อมต่อของเพลงเร็วได้ โดยการใช้วรรคถามที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน 3) การเชื่อมรอยต่อระหว่างทำนองนำเพลงเร็ว และเพลงเร็วโอ้ลาว โดยใช้ลักษณะลูกโยนในตอนท้ายเพลง และ 4) การเชื่อมรอยต่อระหว่างเพลงเร็วโอ้ลาว และเพลงสาลิกาแก้ว สองชั้น โดยใช้ลักษณะของลูกโยนเป็นการจบลงของประโยคเพลงที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเพลงเกิดความกลมกลืนกันอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2555). วิเคราะห์เพลงนางหงส์ : กรณีศึกษา รองศาสตราจารย์พิชิต ชัยเสรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ชยุติ ทัศนวงศ์วรา และวัศการก แก้วลอย. (2564). เพลงเรื่อง เพลงแม่บทในมิติดนตรีไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 21(1), 459-475.

พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (2556). เพลงเรื่อง: ความหมาย หน้าที่ และความสำคัญ. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก http://kotavaree.com/?p=71

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยภาคคีตะ-ดุริยางค์. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

วิเชียร เกิดผล. หัวหน้าวงดนตรีไทยพาทยรัตน์. สัมภาษณ์. 18 กรกฎาคม 2561.