วิเคราะห์เรื่อง นาง ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

Main Article Content

ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ สืบค้น และเสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ นาง ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร คือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร 4 เรื่อง ได้แก่ 1) กาพย์เห่เรือ 2) กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก 3) กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 4) เพลงยาว 3 สำนวน โดยศึกษาเทียบเคียงกับข้อมูลในเอกสารทางประวัติศาสตร์ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) คำให้การชาวกรุงเก่า 2) คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม 3) คำให้การขุนหลวงหาวัด ผลการวิจัยพบว่า นาง ที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงกล่าวถึงในวรรณกรรม มีตัวตนจริง มิใช่นางที่สมมติขึ้น ผลจากการนำวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไปศึกษาเปรียบเทียบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า นาง ในวรรณกรรมที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงกล่าวถึงนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 นาง คือ 1) พระอัครชายา เจ้าฟ้านุ่ม กรมขุนยี่สารเสนีย์ 2) เจ้าฟ้าสังวาลย์ 3) หม่อมเหญก ทั้งนี้พระอัครชายา เจ้าฟ้านุ่ม กรมขุนยี่สารเสนีย์ มีความสำคัญที่สุด เพราะดำรงสถานะเป็นชายาเอก และเป็นชายาพระราชทาน ส่วนเจ้าฟ้าสังวาลย์ คือ นาง ที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรรักมากที่สุด และหม่อมเหญก คือ นาง ที่ทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไม่พอพระทัย เนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับชายอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม. ใน ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. (2553). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

คำให้การขุนหลวงหาวัด. ใน ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยารวม 3 เรื่อง. (2553). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

เทพมนตรี ลิมปพยอม. (2539). การเมืองไทยสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2276-2310. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คำให้การชาวกรุงเก่า. ใน ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. (2553). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2505). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร พระประวัติและพระนิพนธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

นิวัติ กองเพียร. (2545). ฉากรักในงานวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

พูลศรี นนทรีย์. (2527). สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม : บทบาทและอำนาจทางด้านการเมือง การปกครองนับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภร บุนนาค และสุริยา รัตนกุล. (2548). สุนทรียภาพจากเจ้าฟ้ากุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์ การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.