บันทึกประวัติลำตัดอยุธยา: ภูมิสาระในเพลงแปลงลำตัดชมเมืองของไพโซ๊บ เสียงทอง

Main Article Content

อธิชนัน สิงหตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกประวัติลำตัดอยุธยา และเพื่อแสดงบทบาทการเป็นสื่อสร้างสรรค์ของเพลงแปลงลำตัด โดยวิเคราะห์เพลงแปลงลำตัดชมเมืองของไพโซ๊บ เสียงทอง 2 สำนวน คือ เพลงแปลงชมประเทศทั่วโลก และเพลงแปลงชมจังหวัดในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า คณะลำตัดไพโซ๊บ เสียงทองเน้นความสนุกสนานผ่านการร้องเพลงแปลง และอาจเป็นลักษณะเด่นของไพโซ๊บ เสียงทอง เพลงแปลงลำตัดชมเมืองดังกล่าวได้บันทึกประเทศทั่วโลกไว้กว่า 180 ประเทศ และจังหวัดในประเทศไทย 75 จังหวัด โดยเรียงลำดับตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ได้อย่างมีระบบคิด นอกจากนี้ยังปรากฏบทบาทสำคัญ 2 ด้าน คือ บทบาทด้านสังคม ได้บอกตำแหน่งที่ตั้งโดยสังเขป บอกสถานที่สำคัญ บอกลักษณะสำคัญบางประการ บอกเหตุการณ์สำคัญ รวมทั้งบันทึกความเปลี่ยนแปลงของประเทศและเมืองหลวงในโลก ส่วนบทบาทด้านภาษา ได้แสดงให้เห็นความเข้าใจในการถ่ายถอดเสียงชื่อประเทศและเมืองหลวง รวมถึงการเลือกใช้กลวิธีนามนัยสื่อแทนชื่อจังหวัดได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). เขื่อนเจ้าพระยา. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/เขื่อนเจ้าพระยา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). (2550). อยุธยา: Discovering Ayutthaya. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ม.ป.ท. : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ธันยพร บัวทอง. (2565). คณะราษฎร : เยือนลพบุรี ดูมรดกที่เหลืออยู่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และการอภิวัฒน์ 2475. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก www.bbc.com/thai/thailand-51519715

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2560). นามนัยในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์. 17, 188-218.

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (22 เมษายน 2565). การแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 961 การแสดงลำตัดจากอยุธยา “คณะไพโซ๊บ เสียงทอง” [วีดิทัศน์]. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก www.youtube.com/watch?v=G1mLpsaZujI

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2564). “ลำตัด: ประวัติและความเป็นมา” ใน คู่มือการอบรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ค่าย 7. นครปฐม: แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล.