“ผักไห่” : ในชีวิตและความทรงจำของบุคคลสำคัญระดับชาติ

Main Article Content

ปิยะ มีอนันต์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและการถอดความเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการศึกษาจากเอกสาร หนังสือ ข้อเขียน บันทึกความความทรงจำที่เป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ โดยพื้นที่ของอำเภอผักไห่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม สังคม ผู้คน วิถีชีวิต ได้เข้าไปอยู่ในงานเขียน เอกสารอ้างอิง ตำราทางประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา-นริศรานุวัดติวงศ์ พระบิดาช่างศิลป์แห่งกรุงสยาม พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา-ดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย รวมถึงงานเขียนของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีงานเขียนอื่นไม่ว่าจะเป็น นิราศสุพรรณบุรี ของหมื่นพรหมสมพัตสร เพลงยาวนายตาบบุตรสุนทรภู่ ที่ได้กล่าวถึงผักไห่เอาไว้ด้วย โดยในปัจจุบันอำเภอผักไห่ แม้จะเป็นเพียงอำเภอเล็ก ๆ อำเภอหนึ่งในเขตปกครองของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เรื่องราวของอำเภอนี้ สำคัญอย่างยิ่งในระดับชาติ ที่จะใช้เป็นข้อมูลศึกษา สภาพท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตผู้คน ในช่วงเวลาไม่น้อยกว่าสองร้อยปีที่ผ่านมา ผ่านช่วงชีวิตและงานเขียนของบุคคลสำคัญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นปกครอง ข้าราชการระดับสูง หรือสามัญชน ดังนั้น ผักไห่จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่อำเภอหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ยังเป็นพื้นที่ท้องถิ่นในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในอดีต เชื่อมโยงสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว และการรับรู้อย่างภาคภูมิใจของคนผักไห่รุ่นใหม่ในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2505). พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า. พระนคร : กรมศิลปากร

กรมศิลปากร. (2506). นิราศสุพรรณของนายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร). กรุเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม

กรมศิลปากร. (2565). จดหมายเหตุนายทรงอานุภาพเล่าเรื่องเสด็จประพาสต้น ร.ศ.123. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับริซซิ่ง

คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. (2518). ซอยสวนพลู. กรุงเทพฯ : ก้าวหน้าจัดพิมพ์

คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. (2562). หลายชีวิต. กรุงเทพฯ : แสงดาว

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2498). สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 18). พระนคร : กรมศิลปากร

บ้านซอยสวนพลู บ้านพักของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขตสาธร กรุงเทพมหานคร. (2565). ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก www.kukritshousefund.com

บ้านเรือนริมแม่น้ำน้อยที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่. (2565). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา : ปิยะ มีอนันต์.

ผลของมะระขี้นกที่เข้าใจกันว่าคือผักไห่. (2565). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา : ปิยะ มีอนันต์.

พระครูสุทธาจารวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดตึกคชหิรัญ และงานพระราชทานเพลิงศพ. (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา.

พระศรีรัตนมหาธาตุ,วัด. (2548). 400 ปี แห่งการสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2148 - 2548). พิษณุโลก : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

มหาดไทย, กระทรวง. (2460). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ 0ก วันที่ 29 เมษายน 2460. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://th.wikipedia.org

วารุณี โอสถารมย์. (2558). นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่และเสมียนมี : บันทึกการเดินทางและการอ่านเพื่อเข้าถึงเรื่องเล่าท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : นักกลอนแห่งประเทศไทย (สมาคม)

องค์การค้าคุรุสภา. (2505). สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 18) ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

อเนก นาวิกมูล. (2553). เชียงใหม่-ระยอง-หลักสอง-ผักไห่. กรุงเทพฯ : แสงดาว

อเนก นาวิกมูล. (2565). รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก www.silpa-mag.com

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2552). สักวาของสุนทรภู่ เพลงยาวนายตาบ บุตรสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก