นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิง เรื่อง แหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยาโดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse)

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
จุฬารัตน์ นิรันดร
ชาญวิทย์ อิสรลาม
สุนทร คำสาย
มนัสนันท์ เหมชาติลือชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ด้วยรูปแบบโมไบล์-เลิร์นนิง (M-Learning) เรื่อง แหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) สื่อการเรียนการสอนเรื่อง แหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยรูปแบบโมไบล์-เลิร์นนิง (M-Learning) โดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) และ 2) ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ด้วยรูปแบบโมไบล์-เลิร์นนิง (M-Learning) เรื่อง แหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำเสนอเนื้อหา ด้านด้านมัลติมีเดีย และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้สื่อจำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean:  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์-เลิร์นนิง (M-Learning) เรื่อง แหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 รองลงมาคือ ความพึงพอใจในด้านมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.63 และอันดับสุดท้ายคือ ความพึงพอใจในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้สื่ออยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

Nonthaburi

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กลชาญ อนันตสมบูรณ์. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (M – Learning) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา, 5(1), 8-24.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ จุฑารัตน์ นิรันดร ณัฐวุฒิ อัตตะสาระ ปิยพัทธ์ สุปุณณะ และจันทนา มุกดาศุภณัฏฐ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ "ตู้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ" เรื่อง การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์). วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์. [jmpr]. 5(2). 22-32.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ชัชวนันท์ จันทรขุน จิรวดี เหลาอินทร์ พรทิพย์ คุณธรรม และมนัสชนก ยุวดี. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยสอนในวิชาภาษาไทยเรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้งลำหิน (พูนราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 15(2). 49-63.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ทรงชัย ชิมชาติ หยาดพิรุณ แตงสี อมรเทพ สมคิด และชาญวิทย์ อิสรลาม. (2565). การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำโรง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาในอนาคต. 1(1). 47-58.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด คอนสตรัคติวิสต์หัวข้อทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษาสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 14(2). 80-106.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ วีรเทพ ชลทิชา วัชร์ธิดา ศิริวัฒน์ และปรีญา ศรีจันทร์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) โดยใช้สื่อวิดีโอ(VDO) ผ่านแอปพลิเคชั่นสําหรับเรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 30(2). 25-38

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ แสงระวี จรัสน้อยศิริ สุรพล หิรัญพต และแก้วใจ พิชชามณฑ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ. 5(3). 28-40.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์ อรอนงค์ โพธิจักร อพิเชษฐกิจเกษม เหมิและปวีณา จันทร์ไทย. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 14(2). 28-42.

ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2019). การพัฒนาสื่อในรูปแบบมุมมอง 360 องศาเพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามบน Google Street View. Journal of Technology Management Rajabhat MahaSarakham University, 6(2), 80-89.

นวิน ครุธวีร์ พรชนก ชโลปกรณ์ กิตติพงษ์ แก้วประเสริฐ และสิทธิพงศ์ พรอุดทรัพย์. (2021). การ พัฒนาแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติเพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิค ความจริงเสริม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(2), 78-94.

สมศักดิ์ ชูโต. (2527). การสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สมัครสมร ภักดีเทวา และเอกนฤน บางท่าไม้. (2021). การเรียนรู้ยุคใหม่กับการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 34(1), 1-18.

สันติ งามเสริฐ และศิริพงศ์ ศรีสุข กาญจน์. (2021). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนนายเรือปีการศึกษา 2563. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 75-89.