สถานะและบทบาทของนางระบำในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา

Main Article Content

เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานะและบทบาทของนางระบำในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น กฎหมาย คำให้การ และจดหมายเหตุ ตลอดจน วรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ทั้งที่เป็นวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา วรรณกรรมร่วมสมัย และที่อยู่ ในยุคสมัยใกล้เคียงกัน โดยผลจากการศึกษาพบว่า นางระบำ คือ ตำแหน่งหนึ่งในราชสำนัก ซึ่งสันนิษฐานว่าการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เป็นการคัดเลือกสตรีที่มาจากกลุ่มผู้มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยอาจมีนัยในการสร้างความมั่งคงทางการเมือง และการประกอบสร้างความเป็นสมมติเทวดาให้มีภาพพจน์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนางระบำเหล่านี้นอกจากจะมีหน้าที่ในการฟ้อนรำตามเวลาที่กำหนดในพระราชกิจแล้ว นางระบำเหล่านี้ ยังมีหน้าที่ในการฟ้อนรำในพระราชพิธีต่าง ๆ ของราชสำนัก โดยในบางโอกาส ยังกำหนดให้ทำการแสดงคู่กับการแสดงชนิดอื่น เช่น แสดงคู่กับหนัง เรียกว่า “หนังระบำ” ในพระราชพิธีจองเปรียง เป็นต้น นอกจากนี้นางระบำยังมีหน้าที่ ซึ่งเป็นหน้าที่เฉพาะกิจ เช่น การฟ้อนรำในงานออกพระเมรุ หรือการฟ้อนรำงานสมโภชสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา นางระบำ ยังอาจมีหน้าที่ในการฝึกหัดและออกแสดงละคร ตามร่องรอยที่พบในเอกสารฉบับต่าง ๆ และการเกิดขึ้นของบทละครเรื่องอิเหนาเล็ก และอิเหนาใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า นอกจากหน้าที่ในการสร้างความบันเทิง นางระบำยังเป็นส่วนหนึ่ง ในการขับเคลื่อนพิธีกรรมและนโยบายทางการปกครองของชนชั้นนำไทยในยุคสมัยหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2505). กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา

กรมศิลปากร. (2523). อนิรุทธคำฉันท์. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565 จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2531). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2533). วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่ม 2. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2534). คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2547). ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: รุ่งศิลป์การพิมพ์

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2561). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565 จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2565). โคลงทวาทศมาส. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2565). บทลคร ชุดเบ็ดเตล็ด ในเรื่องรามเกียรติ์. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2565). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2565). ประชุมวรรณคดีเรื่อง พระพุทธบาท. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

กรมศิลปากร. (2565). สมุทรโฆษ คำฉันท์. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2471). ประวัติเจ้าจอมมารดาทับทิม รัชกาลที่ 5 กับ สุภาสิตทุคคตะสอนบุตร. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565 จาก vajirayana.org

ราชบัณฑิตยสถาน. (2565). ผลการค้นหา “บำเรอ”. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565 จาก dictionary.orst.go.th

ลาลูแบร์. (2457). จดหมายเหตุลาลูแบร์ พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. พระนคร: ปรีดาลัย

วชิรญาณ. (2457). เรื่องนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ฉบับหอพระสมุด

วชิรญาณ. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

วชิรญาณ. (2459). เพลงยาวเล่นว่าความ. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565, จาก vajirayana.org

ศุภสุตา ปรีเปรมใจ. (2566, 18 กุมภาพันธ์). อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2551). ร้องรำทำเพลง: ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์

อุบล เทศทอง. (2561). คำยืมภาษาเขมรในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ: Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 1340.