การประเมินความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลของชุมชนบ้านเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กัลยา สว่างคง
สถาวร เลิศสุวรรณกุล

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลเป็นกระแสการท่องเที่ยวที่คนทั้งโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะที่การท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทยก็เติบโตและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดี เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะเกิด และ 2) เพื่อประเมินมาตรฐานการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกและความพร้อมของชุมชนบ้านเกาะเกิด ในการรองรับการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลโดยใช้แบบตรวจประเมินมาตรฐานการบริการนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ ของกรมการท่องเที่ยว โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 9 คนทำการประเมินองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักเพิ่มเติมในบางประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่าการท่องเที่ยวในชุมชนเริ่มจากด้านสุขภาพ ก่อนจะขยายครอบคลุมด้านเกษตร และวัฒนธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวทั่วไปให้ความสนใจเข้ามาเที่ยวชมในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ สำหรับระดับมาตรฐานการบริการคนทั้งมวลของชุมชนบ้านเกาะเกิดอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง โดยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 12.84 คะแนนจากคะแนนเต็ม 52 คะแนน โดยองค์ประกอบด้านการบริหารจัดการได้คะแนนเฉลี่ย 4.44 คะแนนจากคะแนนเต็ม 12 คะแนน ในขณะที่ด้านการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ได้คะแนน 5.53 และ 2.87 คะแนนตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน นอกจากนี้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าคนในชุมชนเต็มใจและมีความยินดีอย่างยิ่งในการให้บริการนักท่องเที่ยว แต่ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการอย่างถูกต้อง รวมทั้งควรจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://yala.cdd.go.th/wp-ontent/uploads/sites/47/2018/05.pdf

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก https://dep.go.th/ images/ uploads/ files/Situation_mar65.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf

กัลยา สว่างคง. (2560). การท่องเที่ยวเพื่อคนพิการ: ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย.วารสารวิทยาลัยราชสุดา เพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. 13. 81-98.

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565, จาก https://ww2.ayutthaya.go.th/news/detail

ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2561). Universal Design การออกแบบเพื่อทุกคน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีร์ ตรงจิตพิทักษ์. (2556). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฟริ้น์ข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประสพชัย พสุนนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2556). ประสิทธิภาพและกุญแจแห่งความสำเร็จในการดำเนินการสหกรณ์การเกษตร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6(1). 610-628.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และ ปัทมอร เส็งแดง. (2554). การท่องเที่ยวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในสังคมไทย, Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(2). 221-228.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2563). ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวภิวัฒน์ หลัง COVID -19. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-2PresentationStategyOfTourismAfterCovid-19.pdf

วัชรินทร์ อินทพรหม, วณิฎา ศิริวรสกุล และ พิทักษ์ ปักษานนท์. (2560). การเจียรนัยทรัพยากรท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอบางปะอิน แนวทางการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของประชาชนและองค์กรของชุมชนในตำบลเกาะเกิด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 9(2). 146-157.

สุภางค์ จันทวาณิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2560). การศึกษาข้อจำกัดทางการท่องเที่ยวและความตั้งใจในการเดินทาง ท่องเที่ยวของคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20. 298-312.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2565). ข้อมูลทั่วไป. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก Retrieved from Thailand Board of Investment: https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกิด. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกิด.

Bowtell James. (2015). Assessing the value and market attractiveness of the accessible tourism industry in Europe: a focus on major travel and leisure companies. Journal of Tourism Futures, 1(3), 203-222.

United nations. (1990). Study on the Development of Quality of Life Indicators in Asia and Pacific. New York: United Nations.

World Health Organization. (2021). Ageing and Health. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health