เมืองชาติตระการ: เมืองด่านทางล้านช้างของกรุงศรีอยุธยา

Main Article Content

ธีระวัฒน์ แสนคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และบทบาทความเป็นเมืองด่านของชุมชนโบราณเมืองชาติตระการในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการศึกษาพบว่า เมืองชาติตระการเป็นชุมชนโบราณในที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำแควน้อย ท้องที่ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ และมีพัฒนาการความเป็นเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 เนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางโบราณที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างเมืองพิษณุโลกไปยังอาณาจักรล้านช้างได้ เมืองชาติตระการจึงมีบทบาทเป็นเมืองด่าน ดังปรากฏหลักฐานว่า พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้ปิดด่านเมืองชาติตระการเพื่อป้องกันชาวไทยใหญ่ที่จะหลบหนีไปในเขตอาณาจักรล้านช้าง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญทอง สอนศิริ (บรรณาธิการ). (2553). พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางท่าว) พระปฐมกษัตริย์ ผู้สร้างชาติไทย. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2554). เมืองพิษณุโลก : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหัวเมืองใหญ่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐแบบจารีต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2555). เมืองนครไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองชุมทางคมนาคมระหว่างรัฐลุ่มน้ำโขงกับรัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยา. อารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 3(ฉบับพิเศษ), 19-32.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2556). เมืองเพชรบูรณ์และเมืองหล่มสักกับศึกเจ้าอนุวงศ์. เพชรบูรณ์: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. เพชรบูรณ์: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ). (2527). ศรีรามเทพนคร: รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ปราณี แจ่มขุนเทียน. (2536). แนวทางอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองพิษณุโลก. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

ปราณี แจ่มขุนเทียน. (2542). การศึกษาชุมชนโบราณเมืองนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปราณี แจ่มขุนเทียน และคณะ. (2552). ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก: เทศบาลนครพิษณุโลก.

พระราชกำหนดเก่า. (2529). ใน ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 3. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. (2505). พระนคร: โอเดียนสโตร์.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2554). จารึกพระธาตุศรีสองรัก: มรดกความทรงจำแห่งจังหวัดเลย ว่าด้วยสัญญาทางไมตรีศรีอโยธยา-ศรีสัตนาคนหุต พ.ศ. 2103 ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ). 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 6. (หน้า 5-37). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย 100 เอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ในความสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ลุ่มน้ำน่าน ประวัติศาสตร์โบราณคดีของพิษณุโลก “เมืองอกแตก”. กรุงเทพฯ: มติชน.

Santanee Phasuk and Philip Stott. (2004). ROYAL SIAMESE MAPS: War and Trade in Nineteenth Century Thailand. Bangkok: River Books.