ประเด็นการเมืองภายในกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.2091 - 2112
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องประเด็นการเมืองภายในกรุงศรีอยุธยารัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นการศึกษาเอกสาร ทางประวัติศาสตร์ เพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองกรุงศรีอยุธยาและอำนาจของพระมหากษัตริย์ก่อนเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2112 จากการศึกษาพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ คือ ปัจจัยภายในจากการที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มขุนนางอยุธยา จึงไม่สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้มั่นคงได้ ทำให้เกิดการก่อกบฏท้าทายอำนาจอยู่หลายครั้ง จึงต้องประกอบพระราชพิธีเพื่อเสริมพระบารมี เช่น อินทราภิเษก แต่ไม่อาจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การมีปัญหากับราชบุตรเขย และหัวเมืองเหนือ (พิษณุโลก) ส่งผลทำให้เสียทรัพยากรคนและผู้หนุนหลังอำนาจทางการเมือง นำไปสู่ปัจจัยภายนอก คือ การรุกรานจากบ้านเมืองข้างเคียง โดยเฉพาะหงสาวดี ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จนถึงพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพยายามสร้างเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับล้านช้างเพื่อร่วมมือกันต้านหงสาวดี แต่การกระทำดังกล่าวทำให้หงสาวดีรู้สึกความไม่มั่นคงในอำนาจเหนืออยุธยา จึงมีการทำสงคราม พ.ศ.2111 และ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตลงระหว่างสงคราม โดยสิ่งที่สามารถสะท้อนปัญหาภายในของอยุธยาคือ บันทึกหมิงสือลู่ พบว่าอยุธยาขาดส่งบรรณาการไปหลายช่วงปี อาจเพราะเกิดปัญหาภายในหรือการตกเป็นเมืองขึ้นหงสาวดีในช่วงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2507). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). พระนคร: คลังวิทยา.
ตรงใจ หุตางกูร. (2561). การปรับแก้ศักราช และ การอธิบายความพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศักดิโสภาการพิมพ์.
นันทา วรเนติวงศ์ (แปล). (2548). การท่องเที่ยว การเดินทาง และการผจญภัยของ เฟอร์ดินันด์ เมนเดซ ปินโต. ใน พรพรรณ ทองตัน และ ชรัตน์ สิงหเดชากุล, บรรณาธิการ. รวมผลงานแปลเรื่อง บันทึกการเดินทางของ เมนเดส ปินโต. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, หน้า 57-103.
นายต่อ (แปล). (2562). มหาราชวงษ์ พงศาวดารพม่า. กรุงเทพฯ: บริษัท ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
พันจันทนุมาศ (เจิม). (2559). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2559). หมิงสือลู่-ชิงสือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยาม และ หนังสือระยะทางราชทูตไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งแต่ ณ เดือน 8 ปีกุญตรีศกและปีชวดจัตวาศก ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอินทรมนตรีแย้ม ได้เรียบเรียงไว้ในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558.
ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์ (แปล). (2559). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์ (แปล). (2563). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
ศานติ ภักดีคำ และนวรัตน์ ภักดีคำ. (2561). ประวัติศาสตร์อยุธยาจาจารึก จารึกสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.