การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสร้างแผนที่ออนไลน์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาว : กรณีศึกษา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

บังอร บุญปั้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา รวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) สร้างแผนที่ออนไลน์แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านเทคโนโลยี Google Maps GIS online โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การลงเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ ผู้สืบทอดกลุ่มชาติพันธุ์ลาว และผู้ประกอบการตีมีดอรัญญิกแบบดั้งเดิม รวมทั้งหมด 10 คน เป็นการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษาพบว่า 1) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในพื้นที่ของตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ทั้งสิ้น 11 แห่ง คือ หมู่บ้านไผ่หนอง จำนวน 10 แห่ง และหมู่บ้านต้นโพธิ์ จำนวน 1 แห่ง โดยได้จัดทำฐานข้อมูลออกมาในรูปแบบแผนที่ท่องเที่ยว แสดงรายละเอียดความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยว 2) การใช้เทคโนโลยี Google Maps GIS online เพื่อจัดทำแผนที่ออนไลน์ เผยแพร่ และแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านทางช่องทางต่างๆ อาทิ อีเมล์ และการแชร์ลิงก์ข้อมูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในพระนครศรีอยุธยาให้เป็นที่รู้จัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). หมู่บ้านหัตถกรรมตีมีด พิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งบ้านอรัญญิก. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http://article.culture.go.th/index.php/gallery/3-column-layout-4/194-2020-03-04-07-35-08

การใช้งานแผนที่ออนไลน์จากช่องทางอีเมลหรือ การแชร์ลิงก์. (2564). [ภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

การใช้งานแผนที่ออนไลน์จากช่องทางอีเมลหรือ การแชร์ลิงก์. (2564). [ภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

การตีมีดอรัญญิกแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน บันทึกภาพ 19 กันยายน 2563. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

การสร้างแผนที่ออนไลน์ผ่าน Google Maps GIS. (2564). [ภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2561 – 2565) (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565). ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564, จาก http://www.ayutthaya.go.th/strategic/userfiles/65/files/plan65.pdf

เจดีย์คู่ (เล็ก) ทรงบัวเหลี่ยม ศิลปะลาวเวียง บันทึกภาพ 21 เมษายน 2563. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

ชุมชนบ้านไผ่หนอง. (2553). ประวัติหมู่บ้านไผ่หนอง. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์บ้านหว้า.

ณรงค์ พลีรักษ์. (2557). การท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วารสารบริการและการท่องเที่ยวไทย, 9(2), 3-15.

ต้นจำปา ดอกไม้ประจำชาติลาวที่ปลูกโดยเอกอัครัฐฑูต บันทึกภาพ 16 มิถุนายน 2564 (ก) เอกอัครัฐฑูตร่วมงานวันเกิดลูกหลานกลุ่มลาวเวียงในพื้นที่ บันทึกภาพ 4 กรกฎาคม 2559 (ข). (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

ธัญญรัตน์ ไชยคราม. (2563). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่ออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Map GIS online ในกลุ่มการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(4), 575-586.

บังอร บุญปั้น. (2561). กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารนครพนม, 8(1), 103-112.

บัญญัติ คำศรี. (2559, 21 เมษายน). อดีตกำนัน. ตำบลท่าช้าง. สัมภาษณ์.

ภาพเขียนการตีมีดอรัญญิก (ก) เครื่องมือ เครื่องไม้ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว (ข) บันทึกภาพเมื่อ 10 กันยายน 2563. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: บังอร บุญปั้น.

วนิชญา ลางคุลเกษตริน และนาถนเรศ อาคสุวรรณ. (2561). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน: ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 (น. 521-530). มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564, จาก http://human.skru.ac.th/husoconference/conf1/po50.pdf

ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 10. (2546). มีดอรัญญิก ภูมิปัญญาไทย ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์ เอ.ที.เอ็น.โปรดักชั่น จำกัด.

ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. (2562). หน่วยที่ 5.3 การสร้างประยุกต์ใช้แอพลิเคชั่น Maps: Google Maps. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564, จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2019/04-5034-20190428193824/b820f04f985991faba82933b6467ae20.pdf

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). การจัดตั้งหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวหมู่บ้านหัตถกรรมทำมีดอรีญญิก. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://ayutthaya.cdd.go.th/

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2552). ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสำนักงานวัตฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป). คลังแห่งภูมิปัญญาและมรดกแห่งวัฒนธรรม. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.