การสืบทอดภูมิปัญญาในการทำขนมไทย (ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน) เพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจ ของกลุ่มแม่บ้าน ชุมชนบ้านจีน ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พิเชษฐ เนตรสว่าง
ฉัตรชัย นิยะบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตในการทำขนมไทยโบราณ ที่มีการสืบทอดมายังกลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านจีนจากอดีตมาถึงปัจจุบัน และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการ กระบวนการในการทำขนมไทยโบราณ (ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน) ของกลุ่มแม่บ้าน ชุมชนบ้านจีน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือเรียกว่า กลุ่มแม่บ้านที่มีองค์ความรู้ในเรื่องการทำขนมไทย (ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน) ในพื้นที่ชุมชนบ้านจีน หมู่ที่ 1 ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า (1) วิถีชีวิตในการทำขนมไทยโบราณ ที่มีการสืบทอดมายังกลุ่มแม่บ้าน ชุมชนบ้านจีนจากอดีตมาถึงปัจจุบันนั้น มีการสืบทอดต่อรุ่นสู่รุ่นตลอดระยะเวลามากกว่า 80 ปีที่ผ่านมา โดยมีนางเลื่อน ไกรธรรม เป็นต้นตำรับ สืบทอดมายังนางสาวเยื่อ ขาวมณี นางสาวบาง ขาวมณี นางสาลี่ สุพินศรี และส่งต่อมาถึงรุ่นปัจจุบัน ที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่วิธีการเลือกสรรวัตถุดิบ แปรรูปวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต ผสมผสานกับวิธีการประยุกต์ใช้ขั้นตอนใหม่ๆ ในการผลิต แต่ยังคงคุณภาพความอร่อยเหมือนเดิมแต่โบราณ (2) กระบวนการผลิตขนมไทยโบราณทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ มีเทคนิคการผลิตที่มีความหวานพอดี ไม่เกิดอาการตกทราย (3) ขนมไทยโบราณ (ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน) ไม่มีกลิ่นคาวของส่วนผสมหลัก คือ ไข่เป็ด ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดด้านผลผลิตเชิงคุณภาพของการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าในตัวของผลิตภัณฑ์ ผลลัพธ์ (outcomes) และตัวชี้วัดที่วัดที่ได้เชิงปริมาณ คือ ได้องค์ความรู้ภูมิปัญญาในการทำขนมไทย 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน ซึ่งชุมชนบ้านจีน สามารถนำองค์ความรู้ไปสร้างอาชีพให้คนในหมู่บ้าน และสามารถนำไปพัฒนาเป็นธุรกิจในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2553). กระบวนการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ของผู้ทรงภูมิปัญญาไทพวนบ้านหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

จินตา อุสมาน. (2554). ศึกษาสถานการณ์ผู้รู้และภูมิปัญญาด้านอาหารและขนมพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดนราธิวาส. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชวาลา ละวาทิน ทิพย์สุคนธ์ ไตรต้นวงศ์. (2558). อาหารและขนมไทยพื้นบ้านโบราณ หมู่บ้านคลองขนมหวาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1).

ทองดี แจ้งนคร. (2562, 21 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ชุมชนบ้านจีน. สัมภาษณ์.

นุชฤดี รุ่ยใหม่ และคณะ. (2557). สืบสานและอนุรักษ์ขนมพื้นเมืองหายากของจังหวัดปัตตานี: กรณีศึกษาชุมชนปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ไพวัลย์ สุพินศรี. (2562, 21 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ชุมชนบ้านจีน. สัมภาษณ์.

วรรณา เนตรสว่าง. (2562, 21 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ชุมชนบ้านจีน. สัมภาษณ์.

ศันสนีย์ ทิมทอง, จอมขวัญ สุวรรณรักษ์, ชมภูนุช เผื่อนพิภพ, นฤศร มังกรศิลา. (2558). ศึกษาและพัฒนาการทำขนมไทยพื้นบ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เชิงพาณิชย์. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สิริปรียา แสงทอง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การศึกษาและการสืบสานวิธีการทำขนมไทยไข่ปลาสูตรโบราณของวัยรุ่นที่สืบทอดมาจากผู้สูงอายุ ร้านขนมคุณยายผ่องศรีตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานผลการวิจัย). เพชรบุรี: สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

สำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). ข้อมูลตำบลวัดยม. กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2556). ท้าวทองกีบม้าเจ้าตำรับขนมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กระทรวงวัฒนธรรม.

สมคิด ไผ่งาม. (2562, 21 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ชุมชนบ้านจีน. สัมภาษณ์.

สมบูรณ์ รัตนบุตร. (2562, 21 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ชุมชนบ้านจีน. สัมภาษณ์.