ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับค่านิยมของวัยรุ่นไทย กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบค่านิยมทั้งด้านบวกและด้านลบของวัยรุ่นจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม
การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับค่านิยมของวัยรุ่นไทย กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แบ่งเป็น 7 ด้าน ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเจตคติ 2) ปัจจัยด้านสังคม 3) ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูของครอบครัว หรือผู้ปกครอง 4) ปัจจัยด้านรายได้ และสภาวะทางเศรษฐกิจ 5) ปัจจัยด้านการศึกษา 6) ปัจจัยด้านการได้รับอิทธิพลจากเพื่อน และ 7) ปัจจัยด้านอิทธิพลจากบุคคลที่ชื่นชอบ
ผลกระทบค่านิยมด้านบวกและด้านลบของวัยรุ่นจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่งผลกระทบต่อค่านิยมด้านบวกคือ 1) มีค่านิยมในการศึกษาและใฝ่รู้ 2) ค่านิยมเรื่องความกตัญญูกตเวที 3) ค่านิยมเรื่องการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีจิตอาสา 4) ค่านิยมการรักสุขภาพ 5) ค่านิยมการพึ่งพาตนเองและความขยันหมั่นเพียร และการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นที่ส่งผลกระทบต่อค่านิยมด้านลบ คือ 1) ค่านิยมความฟุ่มเฟือย 2) ค่านิยมการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน 3) ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควรและค่านิยมอยู่ก่อนแต่ง 4) ค่านิยมการไม่รักเดียวใจเดียว 5) ค่านิยมการบริโภคนิยม 6) ค่านิยมเรื่องของแฟชั่นการแต่งตัว 7) ค่านิยมความเป็นอิสระ เสรี ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ 8) ค่านิยมชอบเสี่ยงโชคเล่นการพนัน เชื่อเรื่องโชคลาง 9) การชื่นชอบและเลียบแบบค่านิยมด้านนิยมตะวันตกและตะวันออก 10) ค่านิยมไม่ภูมิใจในภาษาไทย
Article Details
References
กิตติ กันภัย. (2551). จิตวิทยาการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). คลิปลามก-ตบดี ค่านิยมผิดของวัยรุ่น. [Online]. http://www.m-culture.go.th/ ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2558.
จันทิรา ธนสงวนวงศ์, ออนไลน์. (2559). ค่านิยมในสังคมไทย. [Online]. http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/uni06.html.ค้นเมื่อ ธันวาคม 2559.
ฐานเศรษฐกิจ. (2558). เจาะใจวัยรุ่นในการเสพสื่อจากหนังสือพิมพ์ .ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,925 วันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557. [Online]. http://www.thanonline.com. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2558.
ฐิตินัน บุญภาพ. (2556). คอมมอน. บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. ได้รับทุนอุดหนุนจากศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฑิตยา ปิยภัณฑ์. (2557). ค่านิยมดิจิทัลกับพฤติกรรมด้านการสื่อสารออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิเทศ ตินณะกุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: แอ็คทีฟ พริ้นท์.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา และสาระสำคัญ ด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2559). การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม. [Online]. http://www.sac.or.th/databases /anthropology-concepts/glossary/35.ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2559.
ปัญชลี ด้วงเอียด. (2550). “ความพอเพียงในมิติวัฒนธรรม,” สารศูนย์เฝ้าระวังทาง วัฒนธรรม. 4(4) :15 ตุลาคม – ธันวาคม, 2550.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2538) แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ข่าวฟ่าง
ภูเบศร์ สมุทรจักร และมนสิการ กาญจนะจิตรา. (2557). พฤติกรรมบริโภคนิยมในวัยรุ่นไทย และปัจจัยที่เป็นสาเหตุ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ.2577.
รัฐกานต์ กัณพิพัฒน์. (2557). พฤติกรรมเลียนแบบกับค่านิยมการสักของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล .
วิลัยลักษณ์ เสรีตระกูล. (2556). การทํานายค่านิยมแบบวัตถุนิยมของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สนิท สมัครการ. (2542). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2539). ทฤษฎีและกลยุทธการพัฒนาสังคม. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์ส่งเสริมหนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.
สุภาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์.
โสภัณฑ์ นุชนาถ. (2558). ค่านิยม. ภาควิชาจิตวิทยา. คณะครุศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
อุไรวรรณ เทียนทอง. (2548). สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
อรรำไพ วินทะไชย. (2558). วัยรุ่นการการสื่อสารออนไลน์. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2558, จาก www.dmh.go.th/1667/1667view.asp?id=3914
ASTV ผู้จัดการ LIVE. (2558). “วัยรุ่นไทยเลียนแบบดารา” ค่านิยมที่สังคมต้องตั้งคำถาม!. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2558. จาก www.manager.co.th/Daily.
Bandura Albert. (1977). Social Learning Theory Self-efficacy:The exercise of control. Newyork: W.H.Freeman.
Milton Rokeach. (1983). The nature of human values. Publisher, Free Press Original from, theUniversity of Michigan. Digitized.
Richins, M. L., & Dawson, S. (1992). A consumer value orientation for materialism and itsmeasurement: Scale development and validation. Journal of Consumer Research.