รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทย โดยภาคประชาชนในท้องถิ่นภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทย โดยภาคประชาชน (2) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทยโดยภาคประชาชนในท้องถิ่น กำหนดพื้นที่ในการศึกษาจากวงปี่พาทย์ในจังหวัดภาคกลางตอนกลางจำนวน 4 จังหวัด จังหวัดละ 1 วง ได้แก่ วงพาทยรัตน์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วงสนธิบรรเลง จังหวัดสิงห์บุรีวงศิษย์โคกตูมวิทยา จังหวัดลพบุรี วงส้มเช้ามิตรสัมพันธ์ จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หัวหน้าวง นักดนตรี ผู้นำชุมชน บุคลากรภาครัฐ ประชาชนในชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นการสนทนา และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทำการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพและปัญหาของการบริหารจัดการวงดนตรีไทยโดยภาคประชาชนในภาคกลางในมิติของการคงอยู่และการสืบทอดความรู้และทักษะการบรรเลงดนตรีไทยนั้น วงปี่พาทย์ยังมีการสืบทอดตามขนบดนตรีไทยไม่เปลี่ยนผันไปตามกระแสสมัยนิยม และยังคงมีบทบาทในสังคมโดยในปัจจุบันยังคงมีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในส่วนของการสืบทอดมี 2 ลักษณะคือ การสืบทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นหลานในสายตระกูล และมีการสืบทอดจากความรักในการบรรเลงดนตรีไทย (2) รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ดนตรีไทยโดยภาคประชาชนเพื่อการสืบทอดความรู้และทักษะการบรรเลงดนตรีไทย ประกอบด้วย บริบทของศูนย์ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กิจกรรม เนื้อหา กระบวนการบริหารจัดการ (4Ms) และกระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA (3) ผลประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทยโดยภาคประชาชนเพื่อการสืบทอดความรู้และทักษะการบรรเลงดนตรีไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกประเด็น พิจารณารายประเด็นพบว่า วิธีการถ่ายทอดของครูมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทย และโดยรวมของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อทำการประเมินกิจกรรมการสืบทอดการบรรเลงดนตรีไทย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ครูดนตรีไทยเป็นผู้มีประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดได้เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยได้ และจะแนะนำบุตรหลานให้ฝึกหัดดนตรีไทย ควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการบรรเลงดนตรีไทย อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
Article Details
References
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาในสังกัดกรมพลศึกษาเขตชนบท กรมพลศึกษา. กรมพลศึกษา: สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กนก คล้ายมุข. (2541). การสืบทอดปี่พาทย์ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดอกจันทร์ คำมีรัตน์ บุญทัน ดอกไธสง และอิมรอน มะลูลีม. (2552). กลยุทธ์ในการบริหารของบริษัท เอ็นอีซีโทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2563, จาก http://www.grad.vru.ac.th/ download4/141.pdf.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (2556). การถ่ายทอดความรู้ของวงปี่พาทย์บ้านใหม่หางกระเบนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย รูปขำดี และสังคม คุณากรสกุล. (2550). การประมวลความรู้: การสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ.
ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2559). การบริหารจัดการทางวัฒนธรรมกรณีศึกษางานศิลปะพื้นบ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17 (31), 21.
ศศิพันธ์ ทศราช. (2561). การบริหารจัดการธุรกิจดนตรีของร้านครูจ้อน การดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 5 (1),144-167.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น. (2552). ปรัชญา PDCA. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563, จากhttp://www.tpa.or.th/ writer/ read_this_book_topic.php? passTo=40c7d8f19eba f9765a6dbf39f46fc97f&pageid=23&bookID=1320&read=true& count=true
อุดมสิน คันธภูมิ. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.