มุสลิมชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา : การสำรวจเบื้องต้น

Main Article Content

วิวัฒน์ ร้อยศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชาวไทยมุสลิมตำบลลุมพลีและตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่ชาวมุสลิมกลุ่มแรกที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวมุสลิมได้มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับราชการ การค้าขาย การทำเกษตรกรรม และการประมง เป็นต้น โดยชาวมุสลิมที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีหลากหลายเชื้อชาติ อาทิ ชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ ชาวมลายูและชาวจาม เป็นต้น ชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทองนับว่าเป็นสองชุมชนมุสลิมที่เก่าแก่ของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ประกอบไปด้วยชนชาติต่าง ๆ ที่เป็นมุสลิม ซึ่งได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจนกลายเป็นชาวไทยแล้ว


จากการศึกษาประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวตำบลลุมพลีและตำบลภูเขาทอง พบว่าประชากรส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลอง โดยอาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรมและค้าขายมีการรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มจักสานใบลานปลาตะเพียน เป็นต้น ทั้งสองตำบลนี้เป็นตำบลที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย และมีศาสนสถานที่สำคัญเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนให้ตั้งมั่นอยู่บนศีลธรรมอันดีงาม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2534). คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. ม.ป.ท: กรุงเทพฯ.

กำพล จำปาพันธ์. (2559). อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติสู่มรดกโลก ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์. สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส: นนทบุรี.

จิดาพร แสงนิล. (2548). การศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-23). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร: กรุงเทพฯ.

จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. (2554). อยุธยา แผ่นดินประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยาที่คนไทยควรรู้. สำนักพิมพ์ยิปซี: กรุงเทพฯ.

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. (2513). จดหมายเหตุประถมวงศ์สกุลบุนนาค. โรงพิมพ์พระจันทร์: กรุงเทพฯ

นันทวรรณ (เหมินทร์) ภู่สว่าง. (2529). สถานภาพของชนมุสลิมในอยุธยา สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ

พลับพลึง คงชนะ. (2538). เจ้าพระยาบวรราชนายก กับ ประวัติศาสตร์สยาม. ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน: กรุงเทพฯ.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2528). ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากเอกสารไทยและต่างประเทศ. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร: นครปฐม.

สำนักงานเกษตรอำเภอพระนครศรีอยุธยา. (2562). แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลลุมพลี. อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563, จาก https://district.cdd.go.th/muangayuthaya/.

สุจิตราพร โพธิ์ประดิษฐ์. (2557). หัตถกรรมการสานใบลานปลาตะเพียน: กรณีศึกษาชาวบ้านตำบลท่าวาสุกรีและตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. แขนงไทยคดีศึกษา สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. (2530). ประวัติศาสตร์ตระกูลสุลต่านสุลัยมาน. สำนักพิมพ์อมรินทร์: กรุงเทพฯ.

สุวนัช ศรีสง่า. (2558). วารสารครบรอบ 70 ปี อิสลามศรีอยุธยา. โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ: พระนครศรีอยุธยา.

องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2558). ข้อมูลสภาพทั่วไปของตำบลภูเขาทอง. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563, จาก www.phukaothong.go.th/public/.

องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2557). ข้อมูลสภาพทั่วไปของตำบลลุมพลี. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิการยน 2563, จาก www.lumplee.go.th/public/.

อเนก รักเงิน. (2556). วิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนสาน : การสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มคนมุสลิมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา: พระนครศรีอยุธยา.

อาณัติ อนันตภาค. (2557). สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา เรื่องราวของกลุ่มขุนนางไทยเชื้อสายแขกที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทย. สำนักพิมพ์ยิปซี: กรุงเทพฯ.