บทบาทของกิจการรถไฟในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทศวรรษ 2440-2490

Main Article Content

ภาณุพงศ์ ชลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจการรถไฟในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยพบว่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น มีประวัติศาสตร์กิจการรถไฟอย่างเห็นได้ชัด จากการเปิดเดินรถไฟหลวงสายเหนือใน พ.ศ.2444 ซึ่งแยกมาจากชุมทางบ้านภาชี การสร้างสะพานจักรี ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้ ยังมีทางรถไฟสายเอกชน คือ ทางรถไฟสายพระพุทธบาทที่มีเส้นทางระหว่างอำเภอท่าเรือ-วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีอีกด้วย โดยกิจการรถไฟนั้นได้ส่งผลการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อำเภอท่าเรือ ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม การคมนาคม และวิถีชีวิตของยุคที่กิจการรถไฟนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี ดังเช่น การเข้ามาของกลุ่มชาวจีนในอำเภอท่าเรือการใช้รถไฟเป็นพาหนะการเดินทางในช่วงเทศกาลนมัสการพระบาททดแทนการเดินเท้า การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่ทรงประทับบนรถไฟและการค้าขายสินค้าเกษตรกรรมบนรถไฟเป็นต้น และกิจการรถไฟในอำเภอท่าเรือ มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือช่วงทศวรรษ 2490 เป็นต้นมาที่มีความนิยมในการคมนาคมแบบถนนมากกว่าระบบรางและทางรถไฟสายพระพุทธบาทประสบปัญหาการขาดทุนทำให้ต้องเลิกกิจการไป ทำให้ในปัจจุบัน อำเภอท่าเรือยังคงเหลือแต่เพียงทางรถไฟหลวงสายเหนือเท่านั้นที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประภัสสร์ ชูวิเชียร และคณะ. (2559). ศิลปวัฒนธรรม ชุมชนและดนตรีไทยลุ่มน้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2469). พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าปฏิพัทธเกษมศรี ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศประวัติ.

สุพจน์ มนประณีต. (2559). “รถไฟสายพระพุทธบาท” วารสารเมืองโบราณ, 22(3), 35-36.

สุรศักดิ์ พุ่มวันเพ็ญ. (ม.ป.ป.). อำเภอท่าเรือ. ม.ป.ท.

อิจิโร คากิซากิ. แปลโดย มุทิตา พานิช. (2562). ย้อนรอยรถไฟไทย:สืบสานและต่อยอด. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

“พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุน จำกัด" ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 18 ตอนที่ 26 (29 กันยายน 2444) : 410

“เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทและพระราชทานพระกฐิน” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 19 ตอน 34. (22 พฤศจิกายน 2445) : 672

“ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ว่าด้วยให้บริษัทรถรางพระพุทธบาท ท.จ.ก. ยื่นบาญชีงบปีจำนวน ร.ศ. 124 ในภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 125" ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 23 ตอน 41. (6 มกราคม 2449) : 1061

"ข่าวยกยอดมณฑปพระพุทธบาท” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 30 ตอน ง. (28 ธันวาคม 2456) : 2190

“แจ้งความเจ้าพนักงานจดทะเบียนบริษัท เรื่อง บริษัทรถรางพระพุทธบาททุนจำกัด” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 35 ตอน 0 ง (26 พฤษภาคม 2461) : 485

“ประกาศ ถอนพระบรมราชานุญาตซึ่งได้พระราชทานแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุนจำกัด” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 46 ตอนที่ 0 ก (2 มีนาคม 2472) : 367

“แจ้งความกรมรถไฟหลวง เรื่องสร้างและเดิรรถไฟราษฎร์" ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 48 ตอน 0 ง (31 พฤษภาคม 2474) : 679

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2563). ตรวจสอบเวลาเดินรถ. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563 จากhttp://procurement.railway.co.th/checktime/checktime

โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ. (2559). ทางรถไฟระหว่างสถานีท่าเรือ-บ้านหมอ ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563 จาก https://web.facebook.com/222323771159492/ photos/a.645471098844755/ 3621318084593360

วันวิสข์ เนียมปาน. (2562). สะพานรถไฟมีชื่อ. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563 จากhttps://readthecloud.co/rail-2/

วิกิพีเดีย. (2556). ทางรถไฟสายพระพุทธบาท. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/ ทางรถไฟสายพระพุทธบาท:Tharuea1931.jpg

สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). ประวัติความเป็นมาอำเภอภาชี ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563 จาก https://district.cdd.go.th/phachi

MO Memoir. (2556). รถไฟสายพระพุทธบาท (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ 41). ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 http://tamagozzilla.blogspot.com

Pongprasert Chatchaipaiboon. (2549). 155 ปีกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 https://www.facebook.com/hlormakuttapok/photos

สถานีรถไฟท่าเรือ(เก่า). ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/phayungsak/tharua.jpg

สถานีรถไฟท่าเรือ (ปัจจุบัน) เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว. [ภาพถ่าย]. กฤษฎา นิลพัฒน์.

สถานีสร่างโศก ทางรถไฟสายพระพุทธบาทในปัจจุบัน. [ภาพถ่าย]. กฤษฎา นิลพัฒน์,

ถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 3022 ในปัจจุบัน. [ภาพถ่าย]. กฤษฎา นิลพัฒน์,