บทบาทเมืองนครสวรรค์ในประวัติศาสตร์อยุธยา

Main Article Content

ธีระวัฒน์ แสนคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเมืองนครสวรรค์ในประวัติศาสตร์อยุธยา จากการศึกษาพบว่าในช่วงรอยต่อการขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยามายังบ้านเมืองในอาณาจักรสุโขทัย เมืองนครสวรรค์ถูกใช้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการจัดการปัญหาภายในราชสำนักสุโขทัย ภายหลังเมื่อกรุงศรีอยุธยาผนวกเอาบ้านเมืองในกรุงสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เมืองนี้ถูกเปลี่ยนชื่อจากชื่อ “เมืองพระบาง” มาเป็น “เมืองนครสวรรค์” มีสถานะเป็นหัวเมืองชั้นตรีของกรุงศรีอยุธยา ในคราวสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่านับตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เมืองนครสวรรค์ถูกใช้เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการประชุมพลของทั้งกองทัพกรุงศรีอยุธยาและกองทัพพม่า เนื่องจากเป็นเมืองชุมทางตั้งอยู่ในจุดที่เป็นเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ จนทำให้เมืองนครสวรรค์ได้รับผลกระทบจากสงครามและมีความร่วงโรยตามลำดับ ก่อนที่จะฟื้นตัวได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 23  

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ. (2543). ประวัติศาสตร์ไทย: จะเรียนจะสอนกันอย่างไร. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญเมือง จันทโรจนี. (2534). ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2394). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการศูนย์สุโขทัยศึกษา. (2539). สารานุกรมสุโขทัยศึกษา (เล่ม 2 ผ-ฮ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2548). อยุธยา: ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

“ตำนานมูลศาสนา ฝ่ายวัดสวนดอก เชียงใหม่”. (2537). ใน ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่และเชียงตุง. (หน้า 15-82). กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ. (2518). ประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสิ้นอยุธยา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2554). เมืองพิษณุโลก: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหัวเมืองใหญ่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐแบบจารีต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). เมืองฝาง: เมืองชุมทางการค้าและคมนาคมระหว่างรัฐ. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 33(1), หน้า 23-45.

ประเสริฐ ณ นคร. (2549). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด: รวมบทนิพนธ์ “เสาหลักทางวิชาการ” ของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ: มติชน.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2515). แสง มนวิทูร (แปล). ชินกาลมาลีปกรณ์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนางทองคำ สุวรรนิชกุล 17 มกราคม 2515.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (หน้า 213-452). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. (หน้า 211-233). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคจบ. (2505). พระนคร: โอเดียนสโตร์.

พระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมือง ฉบับอยุธยา. (2552). ใน ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟานฟลีต และผลงานคัดสรร พลตรี หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี. (หน้า 101-116). กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ใน

พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง. (2529). ใน ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 1. (หน้า 229-271). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2553). การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2555). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

ลา ลูแบร์. (2552). สันต์ ท.โกมลบุตร (แปล). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ (ฉบับปลีกหมายเลขทะเบียน 222 2/ก 104). ใน อรพินท์ คำสอน ธิษณา วีรเกียรติสุนทร และศุภการ สิริไพศาล (บรรณาธิการ). 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 13. (หน้า 49-168). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ลุ่มน้ำน่าน ประวัติศาสตร์โบราณคดีของพิษณุโลก “เมืองอกแตก”. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กรุงสุโขทัยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2528). นครสวรรค์: เมืองประชุมพลในประวัติศาสตร์สงครามไทยรบพม่าสมัยอยุธยา. ใน สุภรณ์ โอเจริญ (บรรณาธิการ). นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง. (หน้า 196-202). นครสวรรค์: วิทยาลัยครูนครสวรรค์.