กลุ่มคน “มอญ” : ในพื้นที่ประวัติศาสตร์และความทรงจำของชุมชนโพธิ์สามต้นในสมัยอยุธยาจนถึงธนบุรี

Main Article Content

นรเศรษฐ์ เตชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนโพธิ์สามต้นในสมัยอยุธยาจนถึงธนบุรี 2. เพื่อศึกษาบทบาทและตัวตนชาวมอญของชุมชนโพธิ์สามต้นในสมัยอยุธยาจนถึงธนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และวิจัยทางเอกสารจะใช้วิธีการเชิงคุณภาพการวิจัยมีวิธีวิทยาที่สำคัญ คือ วิธีการทางประวัติศาสตร์ การศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งชั้นต้น ชั้นรอง และการศึกษาภาคสนามในชุมชนโพธิ์สามต้น


 ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนโพธิ์สามต้นในสมัยอยุธยา-ธนบุรีมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงปัจจุบัน เป็นลักษณะ “ชุมชนปราการ” สมัยอยุธยาและเป็น “ชุมนุม”สมัยธนบุรี ส่วนบทบาทและตัวตนของกลุ่มคน “มอญ” ในชุมชนโพธิ์สามต้นสมัยอยุธยา-ธนบุรี คือการประสานผลประโยชน์ของกลุ่ม “มอญ” กับรัฐใหม่ที่มีความเข้มแข็งกว่ารัฐเดิมเพื่อความอยู่รอดของชาติพันธุ์เอง ภูมิปัญญาของมอญในอดีตที่โดดเด่นคือ การทำอิฐและการรื้ออิฐวัดมาก่อกําแพงกันค่าย สู่มรดกตกทอดสู่การทำวิสาหกิจการทำอิฐในระดับครัวเรือนที่เห็นได้ในยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. (2550). พระราชพงศาวดารพม่า. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

การทำอิฐมอญที่ยังคงมีอยู่ของชุมชนโพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). [ภาพถ่าย]. นรเศรษฐ์ เตชะ

กิตติ โล่ห์เพชรัตน์. (2556). ศึกชิงอยุธยาก่อนจะล่มสลาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ก้าวแรก.

จรรยา ประชิตโรมรัน. (2542). การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์.

ชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาจากจิตรกรรมฝาผนัง วัดช้างใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). [ภาพถ่าย]. นรเศรษฐ์ เตชะ

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯกรมพระยา. (2516). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระนิพนธ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯกรมพระยา. (2556). พงศาวดารเรื่อง ไทยรบพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

บุบผา คุมมานนท์. (2539). ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา : เนื่องในมหามงคลวารกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ: พร้อมมิตรการพิมพ์.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2557). พระเจ้าตากเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ปัญจพร วชิรอัตฐากูร. (2553). สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ฉบับสามัญชน. กรุงเทพฯ: แชมป์บัณฑิต.

พเยาว์ เข็มนาค. (2558). "ค่ายโพธิ์สามต้น" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นโพธิ์อยู่ไหน?”. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2561.จาก www.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1427953352.

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2557). ข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทเลา. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561,จาก www.putlao.go.th/general1.php.

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2559). ข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น. ค้นเมื่อ 14พฤษภาคม 2561, จาก www.phosamton.go.th/index.php?

รวี สิริอิสสระนันท์. (2553). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ศรีนิล น้อยบุญแนว. (2554). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับหมอบรัดแล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฆษิต

สมคิด ดีดพิณ. (2562, 19 มกราคม). สัมภาษณ์.

สุวัฒน์ เสนะวีณิน. (2555). การบริหารบ้านเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เส้นทางการเดินและจุดตั้งทัพของพระเจ้าตากสินก่อนเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น. (2558). [แผนที่]. พเยาว์ เข็มนาค

หงส์ : สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาติพันธุ์มอญจากจิตรกรรมฝาผนัง วัดช้างใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561).[ภาพถ่าย]. นรเศรษฐ์ เตชะ