สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ของพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา : การใช้สื่อเพื่อสื่อสารความรู้ของพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริก ยุ้นพันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สกนธ์ ภู่งามดี

บทคัดย่อ

“พิพิธภัณฑสถาน”  เป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนประเภทหนึ่งซึ่งในปัจจุบันมีการจัดตั้งขึ้นในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย โดยพิพิธภัณฑสถานทุกประเภทล้วนมีภาระหน้าที่อย่างเดียวกัน คือ เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนและพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยพิพิธภัณฑ์หลักๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี ๙ แห่ง โดยที่พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริก ยุ้นพันธ์  มีความแตกต่างอย่างโดดเด่นในมิติของสิ่งของจัดแสดงและกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ชมซึ่งเปิดกว้างสำหรับผู้ชมที่เป็นคนทุกเพศทุกวัยที่สอดคล้องกับกระแสการส่งเสริมความสัมพันธ์ของครอบครัวที่เหมาะสำหรับสังคมไทยในยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริก ยุ้นพันธ์ เน้นบทบาทการเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สภาพบ้านเมือง และสภาพความเป็นอยู่ของคนยุคก่อนในวัยต่างๆ ทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จุดเน้นที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้ความสำคัญดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับการจัดการศึกษาแบบนอกระบบโรงเรียนและแนวคิดเรื่องหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ตามที่จิรา จงกล (๒๕๓๒, หน้า ๒๑)  แต่ทั้งนี้ สื่อประชาสัมพันธ์ที่พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริก ยุ้นพันธ์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙  มีเพียง ๓ ชนิด ซึ่งสื่อประชาสัมพันธ์ดังกล่าวยังมีความไม่หลากหลาย และไม่ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายได้มากเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงมีเสนอแนะให้พิพิธภัณฑ์ปรับปรุงและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้มีความหลากหลาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น โดยผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า หากต้องปรับปรุงหรือพัฒนาสื่อเพิ่มเติมเพื่อการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ ก็ควรเลือกสื่อประเภทที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ชัดเจน และไม่ซับซ้อน  โดยเสนอแนะว่า พิพิธภัณฑ์ ควรออกแบบสื่อเพิ่มเติมอีก ๗ ประเภท ประกอบด้วย (๑) ถุงใส่สินค้าของที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์ (Bag) (๒) สติ๊กเกอร์ตราเฉพาะของพิพิธภัณฑ์เพื่อติดขวดน้ำดื่ม (House Brand Sticker)  (๓) ป้ายบอกทางเข้าพิพิธภัณฑ์ (Direction Sign) (๔) ป้ายโฆษณาพิพิธภัณฑ์ (Billboard) (๕) ป้ายหน้าร้านอาหารภายในพิพิธภัณฑ์ (Cafeteria Sign)  (๖) แผ่นพับ (Pamphlet) และ (๗) เสื้อที่มีตราเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ (House Brand T-shirt)  ส่วนแนวทางในการออกแบบสื่อเพิ่มเติมทั้ง ๗ ประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้นนั้น ผู้ออกแบบควรกำหนดแนวคิดหลัก (Concept) ในการออกแบบที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ (Image) “ความสนุก ความสดใส และโลกสวยจากวันวานถึงปัจจุบัน” ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย (๑) การเลือกใช้คู่สีตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ คู่สีส้ม-ฟ้า คู่สีขาว-ดำ  คู่สีแดง-ดำ  คู่สีเขียว-ชมพู และคู่สีเหลือง-ฟ้า (๒) การเลือกใช้ตัวการ์ตูนหลักของพิพิธภัณฑ์ตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การ์ตูนรูปช้าง นก กระต่าย และหุ่นยนต์ โดยลักษณะของตัวการ์ตูนหลักของพิพิธภัณฑ์นั้น ควรเน้นความเรียบง่าย เบาบาง และสื่อความสนุกสนาน ความน่ารักสดใส เพื่อสื่ออารมณ์แบบเด็กๆ ของตัวการ์ตูน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Barnlund, D. C. (2008). A transactional model of communication. New Brunswick, New Jersey: Transaction.

จิรา จงกล. (๒๕๓๒). พิพิธภัณฑสถานวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทถุงใส่สินค้าของที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทป้ายโฆษณาพิพิธภัณฑ์. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทป้ายบอกทางเข้าพิพิธภัณฑ์. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทป้ายหน้าร้านอาหารภายในพิพิธภัณฑ์. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทแผ่นพับ (Pamphlet). (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทสติ๊กเกอร์ตราพิพิธภัณฑ์ติดขวดน้ำดื่ม. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

ผลงานต้นแบบสื่อ ฉบับสมบูรณ์ ประเภทเสื้อที่มีตราสินค้าเฉพาะของพิพิธภัณฑ์. (๒๕๖๑). [ออกแบบ]. สกนธ์ ภู่งามดี.

พื้นที่ด้านหน้าของหอจดหมายเหตุทุ่งมะขามหย่อง. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก ww2.ayutthaya.go.th/travel/detail/55

พื้นที่ส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.finearts.go.th/chantarakasemmuseum

พื้นที่ส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิก. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.google.co.th/search?q=พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิก

พื้นที่ส่วนหนึ่งภายในพิพิธภัณฑ์เรือไทย. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.google.co.th/search?q=พิพิธภัณฑ์เรือไทย

พื้นที่ส่วนหนึ่งภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.google.co.th/search?q=พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

พื้นที่ส่วนหนึ่งภายในหอนิทรรศการประวัติศาสตร์อยุธยา. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.google.co.th/search?q=หอนิทรรศการประวัติศาสตร์อยุธยา

ฟิลลิป คอตเลอร์. (๒๕๕๕). การจัดการตลาดฉบับสหัสวรรษ (Marketing Management, The Millennium Edition). แปลโดย ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รูปจำลองพระอุบาลีมหาเถระของพิพิธภัณฑ์พระอุบาลี. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.museumthailand.com/th/museum/Phra-Upali-Maha-Thera-Museum และ www.sac.or.th

วัตถุจัดแสดงส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์มอญ วัดทองบ่อ. ค้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑, จาก www.google.co.th/search?biw=1370&bih=598&tbm=isch&sa

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร. (๒๕๕๗). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. ค้นเมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๗, จาก www.sac.or.th/databases/museumdatabase

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๑). พิพิธภัณฑ์ในพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑, จาก www.ayutthaya.go.th/OfficeAyu