การจัดสำรับอาหารของคนไทยสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

Main Article Content

พิเศษ ปิ่นเกตุ

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากการบริโภคข้าวเป็นหลัก ซึ่งจำเป็นต้องมีอาหาร นานาชนิดรับประทานร่วมกับข้าว การที่ต้องรับประทานอาหารหลายชนิดพร้อมข้าว จึงมีการนำอาหารต่างๆ มาจัดรวมกันเป็นสำรับ ซึ่งพบหลักฐานในบันทึกของชาวต่างชาติตั้งแต่สมัยอยุธยา และมีการใช้ภาชนะที่เป็นกระเบื้องเคลือบใส่อาหารต่างๆ แล้วจัดลงในโตกและเตียบ ซึ่งการจัดสำรับนี้ย่อมใช้ภาชนะซึ่งแสดงถึงฐานานุศักดิ์ โดยสำรับที่ใช้ภาชนะที่ทำจากโลหะมีค่าหรือประดับด้วยมุกสำหรับชนชั้นสูงและภิกษุสงฆ์ สำรับที่ใช้วัสดุรองลงมาเป็นของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ และในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่มมีภาชนะโลหะเคลือบเข้ามาเป็นภาชนะใช้จัดสำรับกับข้าว จนกระทั่งปัจจุบันที่ค่านิยมการจัดกับข้าวเป็นสำรับได้เปลี่ยนไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คำให้การของขุนหลวงหาวัด. (2549). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ดวงจิตร จิตรพงศ์, หม่อมเจ้า, (มปป). ป้าป้อนหลาน. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์. มปท.

เตียบเครื่องต้นในรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม. (2559). [ภาพถ่าย]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ไตรภูมิพระร่วง. (2530). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.

นิโกลาส์ แชรแวส. (2550). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2.นนทบุรี : ศรีปัญญา.

ภาพจำลองกระทงสำรับอาหารในสมัยโบราณ ใช้ใบตองเย็บเป็นสำรับถวายเลี้ยงพระเวลาสำรับถ้วยชามไม่พอดังปรากฏในหมายกำหนดการฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามสมัยรัชกาลที่ 1. (2559). [ภาพถ่าย]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ภาพจำลองการจัดสำรับกับข้าวชาวบ้านยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เริ่มมีภาชนะเคลือบใช้แพร่หลายในหมู่ชาวบ้าน. (2559). [ภาพถ่าย]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ภาพจำลองการจัดสำรับของชาวบ้านหรือพวกทาสในสมัยโบราณ ที่ใช้ชามดินเผาใส่สำรับกับข้าว. (2559). [ภาพถ่าย]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ภาพจำลองการจัดสำรับด้วยโตกทองเหลือง สมัยก่อนใช้เป็นสำรับเลี้ยงพระสงฆ์ในงานมงคลต่างๆ. (2559). [ภาพถ่าย]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ยิ้ม บัณฑยางกูร และคณะ. (2525). ประชุมหมายรับสิ่งภาคที่ 2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ ฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่องพระราชกิจจานุกิจ. (2555). กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ.

ลาลูแบร์. (2548). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2550). เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบกับพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน.

อคิน ธรากร. (2558). ภาชนะสังกะสีเคลือบ คิดถึงเครื่องครัวในความทรงจำ. นิตยสารครัว. ปีที่ 22 ฉบับที่ 253 เดือนกรกฎาคม 2558.

อุรคินทร์ วิริยะบูรณะ. (2511). ประเพณีไทยฉบับพระมหาราชครู. กรุงเทพฯ : ลูก ส. ธรรมภักดี.