ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อการถ่ายโอนภารกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๒) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑๓๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ๑) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง ๔๐ – ๔๙ ปี มีการศึกษา ระดับปริญญาตรี ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่ง ๑๐ – ๑๙ ปี และส่วนใหญ่คือ ๑๐๕ คน ไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนรพ.สต.ให้ท้องถิ่น และ ๒) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมเห็นด้วยในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการงานสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารจัดการด้านเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งก่อสร้าง พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน
Article Details
References
โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์. (๒๕๔๕). นโยบายและแนวทางการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ. สถาบันพระปกเกล้า นนทบุรี.
คณะอนุกรรมการพัฒนากลไกและกระบวนการในการสนับสนุนการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (๒๕๕๐) สืบค้นเมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๖๒https://www.hiso.or.th/hiso/ picture/ reportHealth/ ThaiHealth2008/report2551_25.pdf
จรวยพร ศรีศศลักษณ์, จเร วิชาไท และรำไพ แก้ววิเชียร. (๒๕๕๒). ประสบการณ์การกระจายอำนาจด้านบริการสาธารณสุขในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ๓ (๑)
ประยงค์ เต็มชวาลา และคนอื่นๆ. (๒๕๓๙). การกระจายอำนาจ : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปงานสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ : สามศาสตร์.
ปัณณทัต นอขุนทด. (๒๕๕๖). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๖๒, จาก http://eng.sut.ac.th/ce/ recourse/download/project/7-1-55/9PANNATHAD% 20NOKHUNTHOD.pdf.
พันธุ์ทิพย์ รามสูต. (๒๕๓๑). ข้อเสนอสำหรับแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข.
ไพยนต์ คำใหญ่. (๒๕๔๖). การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการนำนโยบายด้านสาธารณสุขไปปฏิบัติ ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,:ม.ป.ท.
สมนึก ภัททิยธานี. (๒๕๓๗). การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สมยศ แสงมะโน. (๒๕๖๑). ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาขาวิชานโยบายสาธารณะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สามารถ อ่อนละมุล. (๒๕๔๘). ความพร้อมในการถ่ายโอนอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.