ความสืบเนื่องของพระราชพิธีในกฎมณเฑียรบาล สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

Main Article Content

พิเศษ ปิ่นเกตุ

บทคัดย่อ

 กฎมณเฑียรบาล เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีส่วนที่เป็นกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ที่ข้าราชสำนักต้องพึงปฏิบัติ ส่วนที่เกี่ยวด้วยพระราชอิสริยศของเจ้านายในลำดับขั้นต่าง ๆ ส่วนที่เกี่ยวกับพระราชกิจจานุกิจ และส่วนที่เกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ ในราชสำนัก ซึ่งพระราชพิธีที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลนั้น มีทั้งสิ้น ๒๖ พระราชพิธี เมื่อสืบค้นหลักฐานทั้งในพระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ คำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด พบว่า พระราชพิธีที่พบหลักฐานว่ามีการจัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาในเอกสารเหล่านี้มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ พระราชพิธี ถึงสมัยรัตนโกสินทร์พบหลักฐานว่า มีการจัดพระราชพิธีที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลจำนวน ๙ พระราชพิธี และยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พบว่า พระราชพิธีที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลที่ยังมีการจัดพิธีสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน มีจำนวน ๔ พระราชพิธี คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีตรียัมพวาย และพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และยังพบร่องรอยของการลดทอนและเพิ่มเติมรายละเอียดพระราชพิธีมากกว่าที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๑. (๒๕๔๘). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

คำให้การขุนหลวงหาวัด. (๒๕๔๙). นนทบุรี : โครงการเลือกสรรหนังสือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คำให้การชาวกรุงเก่า. (๒๕๔๔). กรุงเทพฯ : จดหมายเหตุ.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๔๒). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.

ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์,พลตรี หม่อม. (๒๕๑๐). คำบรรยายเรื่องพระราชพิธีประจำปีในรัชกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : พระจันทร์.

ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยาและคณะ. (๒๕๕๐). เทวสถานโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์. สืบค้นออนไลน์จาก https://www.facebook.com/devasthanbangkok สืบค้นเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. (๒๕๔๒). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (๒๕๔๔). กรุงเทพฯ : แสงดาว.

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี. (๒๕๕๒). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. (๒๔๘๑). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา . (๒๔๖๕). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรหม.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. (๒๕๓๔). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ภาพจินตนาการพระราชพิธีเฉวียนพระโคสมัยกรุงศรีอยุธยา. (๒๕๖๒). [ภาพวาด]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ภาพจินตนาการพระราชพิธีเบาะพกสมัยกรุงศรีอยุธยา. (๒๕๖๒). [ภาพวาด]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

ภาพจินตนาการพระราชพิธีอาชยุชสมัยกรุงศรีอยุธยา. (๒๕๖๒). [ภาพวาด]. พิเศษ ปิ่นเกตุ.

รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชานุกิจและอธิบายว่าด้วยยศเจ้า. (๒๕๔๖). กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

วินัย พงศรีเพียร. (๒๕๔๘). กฎมณเฑียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์.

ศรีพนม สิงห์ทอง. (๒๕๐๕). พระราชพิธีของกษัตริย์ไทย. ม.ป.ท.

สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นออนไลน์จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=กฎมณเฑียรบาล (โดม ไกรปกรณ์) สืบค้นเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓.

อุรคินทร์ วิริยบูรณะ. (๒๕๑๑). ประเพณีไทยฉบับพระมหาราชครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี.