ทัศนคติของผู้เรียนต่อโครงงานมัคคุเทศก์ภาษาญี่ปุ่น ณ แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นสำหรับมัคคุเทศก์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อโครงงานมัคคุเทศก์ภาษาญี่ปุ่น ณ แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นสำหรับมัคคุเทศก์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา “ภาษาญี่ปุ่นสำหรับมัคคุเทศก์” ซึ่งเป็นวิชาเลือกในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชั้นปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ จำนวน ๓๕ คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติของผู้เรียนต่อโครงงานมัคคุเทศก์ภาษาญี่ปุ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย ๓.๗๑ (SD=1.01) เมื่อพิจารณาทัศนคติรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการพัฒนาภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๑ (SD=1) และด้านการเรียนรู้ข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ๓.๗๑ (SD=0.99) เท่ากัน รองลงมาคือด้านการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นสำหรับมัคคุเทศก์ ค่าเฉลี่ย ๓.๗๐ (SD=1.02) เมื่อพิจารณารายข้อคำถามใน ๓ ด้านรวมกันพบว่า การสร้างโอกาสในการแสดงออกศักยภาพตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ ๔.๐๐ (SD= 1.08) การพัฒนาทักษะการวางแผน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยรองลงมาที่ ๓.๙๗ (SD=0.92) และความเข้าใจเนื้อหาวิชากระจ่าง ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ ๓.๓๗ (SD= 1.03)
Article Details
References
กมลทิพย์ พลบุตร. (๒๕๖๐). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นแบบโครงงานสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษา. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, ๗(๒), ๖๕-๘๒.
ชิมะดะ คะซึโกะ. (๒๕๕๓). มุ่งการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับระดับความสามารถ : มาเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ได้จริงกันเถอะ. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๗, ๑-๑๐. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
ทิศนา แขมมณี. (๒๕๕๙). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ ๒๐). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นเรนทร์ แก้วใหญ่. (๒๕๕๙). ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน : การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL. ๒(๒). ๑๐๘ -๑๒๓.
นะคะโอะ ยุกิ. (๒๕๕๙). การอบรมครูเพื่อเพิ่มทักษะศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้รูปแบบทดลองประสบการณ์การเป็นผู้เรียน : ผลการเรียนรู้และประสบการณ์ของครูชาวไทยระดับมัธยมศึกษา. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๑๒, ๔๑-๕๖. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
โนะซะกะ ชิเอะโกะ. (๒๕๔๗). รายงานการเป็นมัคคุเทศก์หนึ่งวัน. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๑, ๑๔๓-๑๔๗. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
ฟุกุนะงะ ทะสทึชิ, ฟุกุนะงะ ไอโกะ และสุดารัตน์ ตรรกโชติ. (๒๕๕๘). การรับรู้ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยต่อการเรียนแบบโครงงาน : กรณีศึกษาหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นเพื่อการเดินทาง ระดับมัธยมศึกษา ๒๐๑๔. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๑๒, ๑๗-๒๖. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
โยะชิดะ นะโอะโกะ. (๒๕๔๘). การปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในหัวข้อ “การทัวร์เชียงใหม่ครึ่งวัน”. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๒, ๘๕-๙๓. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (๒๕๕๑). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม ไอ ที พริ้นติ้ง.
ศุภรา บาเลนไทนน์. (๒๕๕๙). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนบรรยายขั้นตอนในภาษาอังกฤษของนักศึกษา. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๖(๓), ๑-๒๑.
ศุภิกา นิรัติศัย. (๒๕๖๑). ทัศนคติ แรงจูงใจและพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ๙(๒), ๑๓๘-๑๗๐.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (๒๕๕๙). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๒). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โอโนะ นะโอะโกะ. (๒๕๔๘). รายงานการปฏิบัติจริงเรื่องการทดลองฝึกปฏิบัติการทัวร์เมืองกาญจน์ของวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๓. วารสารการศึกษาภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิญี่ปุ่น, ๒, ๗๑-๘๔. (แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
Kerdpol, S. (2016). An Application of Project-Based Learning on the Development of Young Local Tour Guides on Tai Phuan's Culture and Tourist Attractions in Srisatchanalai district, Sukhothai Province. English Language Teaching, 9(1),133-141.
McDonough,K., & Chaikitmongkol, W. (2007). Teachers' and Learners' Reaction to a Task-Based EFL Course in Thailand. TESOL Quarterly, 41, 107-132.
Sahatsathatsana, S. (2014). The Development of PBL Teaching Method for Teaching English Conversation. RMU.J. (Humanities and Social Sciences), 8(2), 41-54.
Simpson, J. (2011). Integrating Project-Based Learning in an English Language Tourism Classroom in a Thai University. Unpublished doctoral dissertation, Australian Catholic University, North Sydney, Australia.