รูปแบบการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา

Main Article Content

วิชชุลดา ตันประเสริฐ
นราพงษ์ จรัสศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนายอนาคตของกรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุอาเพศ
สิบหกประการที่จะเกิดขึ้น ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลทางเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรมศาสตร์ ผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
การสังเกตการณ์ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัยเอง จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวิจัยครั้งนี้สามารถจำแนกตามองค์ประกอบทางนาฏยศิลป์ ๘ ข้อ ประกอบด้วย (๑) การออกแบบบทการแสดง นำเนื้อหาของวรรณกรรมเรื่องเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา มาแบ่งโครงสร้างบทการแสดงออกเป็น ๓ องก์ คือ ภาพความล่มสลาย ความหายนะ และความรุ่งเรือง โดยใช้รูปแบบการดำเนินเรื่อง
แบบย้อนกลับหรือเล่าเรื่องแบบย้อนต้น (Flashback)  (๒) การคัดเลือกนักแสดง จะคัดเลือกจากความสามารถด้านการแสดงละคร ทักษะทางนาฎยศิลป์ไทย และทักษะการต่อสู้ด้วยอาวุธ (๓) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวในกิจวัตรชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) ซึ่งเป็นแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ (Post Modern Dance) ลีลาการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคของนาฏยศิลป์บุโตะ (Butoh) ลีลาการจัดองค์ประกอบโดยภาพนิ่ง (Tableau Vivant) ลีลานาฏยศิลป์ไทย ทักษะทางการแสดง และลีลาการต่อสู้ด้วยอาวุธ (๔) การออกแบบเครื่องแต่งกาย รูปแบบการแต่งกายแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ รูปแบบการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยกรุงศรีอยุธยาและการแต่งกายอย่างโขนละครไทย (๕) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้กล่องกระดาษเขียนลายอิฐแทนฉากโบราณสถาน และนำโฟมมาออกแบบเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา (๖) การออกแบบเสียงและดนตรีประกอบการแสดง ผู้วิจัยใช้การบรรเลงดนตรีสดประกอบการแสดง ได้แก่ วงดนตรีร่วมสมัย วงดนตรีไทยประเภทวงมโหรีเครื่องหก การสร้างเสียงสังเคราะห์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี การขับร้องเสภาสดทับซ้อนเสียงที่มีการบันทึกไว้ เสียงการเล่าข่าวและเสียงสนทนาของนักแสดงมาเป็นส่วนหนึ่งในงานสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ (๗) การออกแบบพื้นที่แสดง ผู้วิจัยเลือกใช้โรงละครในลักษณะแบล็ค บ๊อกซ์ เธียเตอร์ (Black Box Theatre) เป็นพื้นที่แสดง เนื่องจากเป็นโรงละครที่สามารถรองรับนักแสดงได้ในจำนวนมากและเพียงพอต่อการออกแบบลีลาการแสดง นอกจากนี้ยังมีระบบเทคโนโลยีประกอบการออกแบบเวทีและแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง (๘) การออกแบบแสง ใช้แสงเพื่อสร้างบรรยากาศและอารมณ์ร่วมในการชมการแสดง เช่น ความสูญเสีย ความโหยหา ความรุ่งเรือง เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (๒๕๔๒). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี.

การใช้กล่องเขียนลวดลายแทนฉากโบราณสถาน. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

การใช้แสงส่องตรงไปที่ผู้แสดง. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

การแต่งกายของชาวบ้านสมัยอยุธยา. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

การแต่งกายแบบนาฏยศิลปไทย (ละคร). (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

การเพิ่มแสงให้สว่างขึ้นสื่อความรุ่งเรือง. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

การลดทอนขนาดเจดีย์. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๖๑). การเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรุงเทพฯ: มติชน.

ลีลาการด้นสดด้วยเทคนิคบุโตะ (Butoh). (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

ลีลาการต่อสู้ด้วยอาวุธ. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

ลีลาการแสดงโขน. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

ลีลาการแสดงละครใน. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

ลีลาการองค์ประกอบโดยภาพนิ่ง (Tableau vivant). (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

ลีลาที่ใช้เทคนิคการแสดงละคร. (๒๕๖๒). [ภาพถ่าย]. ปทุมธานี: วิชชุลดา ตันประเสริฐ.

วิชชุตา วุธาทิตย์. (๒๕๖๒, ๑๗ กันยายน). ข้าราชการบำนาญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (๒๕๖๐). เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา : ว่าด้วยวรรณกรรมคำทำนายกับการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและการเมืองแห่งยุคสมัย. ค้นเมื่อ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒, จาก www.youtube.com /watch?v=6Cum3w76GKc&t=2586s.

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. (๒๕๖๑). ศิลป์สโมสร : ภาษามหาศาล : เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑, จาก www.youtube.com/watch?v=2BAiQMZQR4