พัฒนาการของกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ จากอาชญาหลวงสู่ประมวลกฎหมายอาญา

Main Article Content

ปริญญา เพ็ชรน้อย
กวินทิพย์ บัวแย้ม
เชาวลิต สมพงษ์เจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่พระไอยการอาชญาหลวง
สู่ประมวลกฎหมายอาญา ๒) เพื่อศึกษาพัฒนาการของกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่พระไอยการอาชญาหลวง
สู่ประมวลกฎหมายอาญา และ ๓) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนากฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์
ในประมวลกฎหมายอาญา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิดนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาเป็น
กรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ พระไอยการอาชญาหลวง พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ. ๑๑๘ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ และประมวลกฎหมายอาญา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๑ ชนิด คือ การวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


๑. การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์เป็นการให้คุ้มครอง และให้ความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมีพลวัตทางสังคม และปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับสมดุลของสภาพสังคมบ้านเมือง


๒. ผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์และโทษที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลต่อการเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในแง่ทัศนะ และความรู้สึกของคนไทย


๓. ข้อเสนอแนะองค์ความรู้ด้านนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาในประเด็นของพัฒนาการของกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย สมควรที่จะมีการทบทวนอัตราโทษให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยศึกษาถึงเงื่อนไขทางสังคม การเมือง และเสรีภาพของประชาชนที่มีมากขึ้นตามลำดับ


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ เป็นข้อค้นพบตามแนวคิดนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาในเรื่องลักษณะของกฎหมายที่ดี สามารถนำไปศึกษาการพิจารณาคดีอาญาฐานกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ หรือศึกษาผลกระทบของการดำเนินคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทยได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายตราสามดวง เล่มที่ ๒. (๒๕๕๐). ราชบัณฑิตยสถาน. ค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก www.finearts.go.th/chonburilibrary.html

กฎหมายลักษณะอาญา. (๑๒๗, ๑ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๙ ฉบับพิเศษ. หน้า ๒๐๖.

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑. (๒๕๑๙, ๒๑ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๖ พ.

ชลธร วงศ์รัศมี. (๒๕๖๐). กษัตริย์ศึกษา เส้นที่มองไม่เห็นของ ม. ๑๑๒. ค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก waymagazine.org/king_research๐2-1

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (๒๕๖๒). การพัฒนากฎหมาย (Legal Development). ค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก web.krisdika.go.th/data/activity/ac63.htm#_ftn1

เชาวลิต สมพงษ์เจริญ. (๒๕๕๘). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ฐนาพงษ์ ทอนฮามแก้ว. (๒๕๕๓). เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒. ค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก cuir.car.chula.ac.th/handle

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (๒๕๒๐). พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก freedom.ilaw.or.th

นพพล อาชามาส. (๒๕๖๑). เมื่อผู้ปกครองสถาปนาตนเป็นรัฐ : ข้อหา “ยุยงปลุกปั้น” กับ การบังคับใช้กฎหมายแบบอำนาจนิยมในประเทศไทย. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๑๑(๒), ๓๑.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (๒๕๕๒). วัฒนธรรมไทยกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เอกลักษณ์ของประชาธิปไตยไทยในกระแสประชาธิปไตยโลก. จุลนิติ, ๖(๓), ๓๘-๔๖.

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙. (๒๔๙๙). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หน้า ๓๔ ค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก https://library2.parliament.go.th/library/content_law/18.pdf

พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.๑๑๘. (๑๑๘, ๙ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๖. หน้า ๒๕

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙. (๒๔๙๙, ๑๕ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๗๓ ตอนพิเศษ. หน้าที่ ๑.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒. กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (๒๕๕๕). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๑๗(๑), ๒๖-๒๗.