ปัญหาทางกฎหมายกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก : นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาทางกฎหมายกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จากการศึกษาพบว่า ๑) ปัจจุบันไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก ยังคงต้องอาศัยกฎหมายอื่นมาบังคับใช้เพื่อการบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลก ๒) ชุมชนในพื้นที่ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่เนื่องจากพระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๕) ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีบทบัญญัติรองรับสิทธิของชุมชนให้มีส่วนร่วมบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก ๓) องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ไม่สามารถใช้อำนาจบริหารจัดการพื้นที่เมืองมรดกโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้หลักการกระจายอำนาจตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งของหน่วยงานในพื้นที่และปัญหาอื่น ๆ ตามมาโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
Article Details
References
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๑). มรดกโลกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๖๐). อนุสัญญามรดกโลก. ค้นเมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐, จาก thaiwhic.go.th/convention.aspx
จตุญาณ หัทยานันท์. (๒๕๕๖). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานตามพระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
เจมส์ แอล, เครย์ตัน. (๒๕๕๑). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของชุมชน. แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิล บุรีกุล, เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศี. (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพมหานคร: ศิริภัณฑ์.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (๒๕๔๖). พลวัตสิทธิชุมชน: กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.
นภาจรี จิวะนันทประวัติ. (๒๕๕๗). การปกครองท้องถิ่น-ประชาธิปไตยใกล้มือประชาชน. ค้นเมื่อ ๑ กันยายน ๒๕๖๒, จาก 118174.12141/document/documents/documents/Individual_Study_162pdf.
มรดกโลก. บริษัท โมโนกราฟ สตูดิโอ จำกัด. ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (๒๕๕๑). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. สืบค้นเมื่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒, จาก gotoknow.org/posts/33443.
สมเดช สีแสง. (๒๕๕๓). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม. ค้นเมื่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒, จาก gotoknow.org/posts/33443.
สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (๒๕๖๒). จ่อฟ้อง “กรมศิลป” ตัดหัวเสาตะลุงเพนียดช้างอยุธยา. ค้นเมื่อ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๒, จาก news.thaipbs.or.th
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (๒๕๕๖). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาคุ้มครอง. กรุงเทพฯ: สำนักฯ.
สินิทธิ์ บุญสิทธิ์. (๒๕๕๐). กฎหมายควบคุมอาคาร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
อภิชาต อาวจำปา . (๒๕๕๖). มาตรการทางกฎหมายในการอนุรักษโบราณสถานของไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (๒๕๔๔). มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Cohen, J.M. and Uphoff. (1997). N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University