แนวทางการสืบสานคติพระจักรพรรดิราช สัญลักษณ์แห่งอำนาจในงานศิลปกรรม ณ วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของพระยาไชยวิชิต (เผือก)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาและอธิบายแนวทางการสืบสานคติจักรพรรดิราช สัญลักษณ์แห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรม ณ วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สยามประเทศเริ่มเผชิญกับภัยคุกคามทางการเมือง ทั้งจากมหาอำนาจชาติตะวันตกและการทำสงครามกับเมืองประเทศราช โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบความคิดและความเชื่อของพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามและการถวายพระนามให้กับพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องอย่างใหญ่แบบพระเจ้าจักรพรรดิราชภายในพระอุโบสถ อันแสดงถึงสิทธิธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสนอกเศวตฉัตร มีพระราชมารดาเป็นเพียงสามัญชน เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระมหากษัตริย์ผู้ริเริ่มสถาปนาความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชให้กับพระพุทธรูปภายในพระอุโบสถ ณ วัดหน้าพระเมรุแห่งนี้เช่นกัน
Article Details
References
กรมศิลปากร. (๒๕๖๓). ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมวัดใหม่ชัยวิชิต. ค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓. จาก www.qrcode.finearts.go.th
คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (๒๕๑๕). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา
คุรุสภา. (๒๕๓๗). กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ. (๒๕๖๓). รอยกะเทาะของปูนที่หลุดออกมาเผยให้เห็นเนื้อทองสัมฤทธิ์อยู่ภายในของพระพุทธรูปประธานและมุมมองด้านหน้าของพระอุโบสถ ณ วัดหน้าพระเมรุ ถ่ายขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๐๐. ค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓. จาก oer.learn.in.th
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔. (๒๔๐๙). เรื่องให้พระยาไชยวิชิตตั้งบ้านเรือน. จ.ศ. ๑๒๒๘ เลขที่ ๑๐๕.
จารึกฝั่งขวา (หลักที่ ๑๕๙) ระหว่างเสาประธานคู่แรก. (๒๕๖๓). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ธานุรา วิไลวานิช
จารึกฝั่งซ้าย (หลักที่ ๑๖๐) ระหว่างเสาประธานคู่แรก. (๒๕๖๓). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ธานุรา วิไลวานิช
เจิม บุรานนท์. (๒๔๗๙). จดหมายเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ.
พระยาอมเรนทรมนตรี ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
ชัย เรืองศิลป์. (๒๕๔๑). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๕๓ ด้านเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ฐานพระปรางค์วัดหน้าพระเมรุราชิการาม. (๒๕๖๓). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ธานุรา วิไลวานิช.
ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา และอชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. (๒๕๕๐). สองศตวรรษวัดสุทัศนเทพวราราม: ศูนย์กลางจักรวาล ศูนย์กลางพระนคร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง
ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (๒๕๔๗). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
ธนโชติ เกียรติณภัทร. (๒๕๕๘). คำให้การสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ยุคล่าอาณานิคมในจีน พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย. ดำรงวิชาการ. ๑๔ (๒).
บริเวณทุ่งพระเมรุถึงวัดหน้าพระเมรุ. ค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓, จาก hd-3dmaps.com
บูรพคดี, ห้างหุ้นส่วน. (๒๕๔๒). รายงานการขุดแต่ง ออกแบบ และบูรณะโบราณสถานวัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [ม.ป.ท.]: กรมศิลปากร.
พระยาไชยวิชิต. (๒๕๔๙). ยอพระเกียรติสามรัชกาล. พิมพ์ในงานศพพระนิเวศน์วิสุทธิ (ถึก สาระสุด) (ปีมะโรงอัฐศก). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย.
พิริยะ ไกรฤกษ์. (๒๕๕๒). ลักษณะไทย เล่ม ๑ : พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
ลำจุล ฮวบเจริญ. (๒๕๕๙). เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและบางสาระที่น่ารู้ในวังหลวง-วังหน้ากรุง รัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
วัชรี สวามิวัศดุ์. (๒๕๕๙). วัดพระเมรุราชิการาม. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: แกลลอรี่.
วิลาสวงศ์ พงศะบุตร. (๒๕๓๑). พระบรมราโชบายเกี่ยวกับประเทศตะวันตก. มหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๑). งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๖). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (๒๕๕๐). จารึกในวิหารเขียน วัดหน้าพระเมรุ (หลักที่ ๑๖๑). ค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓, จาก db.sac.or.th/inscriptions/uploads/images/20131222122408V1c2.jpg
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (๒๕๕๐). จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ. ค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓, จาก db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1110
เอนก มากอนันต์. (๒๕๖๒). จักรพรรดิราช คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน