ศักยภาพของแก้วในการสร้างงานศิลปะที่เน้นสภาวะฉับพลัน: พื้นที่ว่างและสาระของวัสดุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาศักยภาพของแก้วในการสร้างงานศิลปะที่เน้นสภาวะฉับพลันบนพื้นที่ว่างและสาระของวัสดุ แบบศิลปะเซนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสดงถึงความสงบเงียบและความว่าง การศึกษานี้ใช้วิธีการทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของวัสดุและกระบวนการสร้างสรรค์จากผลงานของศิลปิน 4 คน 4 ชิ้นงาน ผลการศึกษาพบว่า 1. แก้วเป็นตัวแปรและเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเสียงอันกังวานสามารถนำพาผู้ชมสำรวจกายและใจด้วยการฟังและพบกับความสงบเกิดพื้นที่ว่างภายในจิตใจตระหนักรับรู้ว่าเสียงไม่ได้มาจากภายนอกร่างกาย แต่มีอยู่ในจิตใจแล้วดังตัวอย่างในผลงาน Sound Art installation “Chozumaki” ของ เนโล อะคะมะทสึ (Nelo Akamatsu) 2. การนำแนวคิดจากการสร้างสรรค์แบบดั้งเดิมของวัฒนธรรมมาผสมผสานก่อรูปด้วยการปาดป้ายหมึกบนแก้วโปร่งใสในสภาวะฉับพลันแสดงให้เห็นว่า แก้วเป็นสื่อกลางที่มีความสมบูรณ์พร้อม ซึ่งสามารถบันทึกช่วงเวลาขณะหนึ่ง ผ่านการเล่าเรื่องในปรัชญาเซนที่แสดงถึงความสงบเงียบ ดังตัวอย่างในผลงานชุด “Non – Calligraphy” ของ หวัง ฉิน (Wang Qin) 3. การสำรวจเชิงลึกในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแก้วที่แสดงบริบทของการวาดเส้นหลายมิติด้วยเส้นแก้วตามหลักของสมาธิในการเขียนหมึกจีนได้แสดงการไหลของพลังงานในแก้ว ทำให้แก้วเป็นวัสดุเล่าเรื่องราวและขยายแนวคิดแบบศิลปะเซนเกี่ยวกับความว่าง ดังตัวอย่างในผลงาน “Ghost” ของ Ayako Tani และ “The Glass Circles” ของ Sunny Wang ผลงานของศิลปินแสดงให้เห็นศักยภาพของแก้วได้แสดงออกถึงความเงียบสงบและความว่าง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
Akamatsu, N. (2016). Chozumaki, sound installation 2016. http://www.neloakamatsu.jp/works/works_chozumaki-eng.html
Cousins, M. (1995). Twentieth century glass. Grange Books.
Holmes, S., & Horioka, C. (2536). Zen art for meditation, (translated) Laoshi. Dokya.
Isavorapant, C. (2021). The origin of natural and dry landscape gardens and the relationship with architecture and painting. Silpa Bhirasri Journal of Fine Arts, 9(1), 19-60. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jfa/article/view/246763
Isavorapant, C. (2024). Makha Waree: Japanese architecture, painting, and garden in Zen viewpoint. Thaweewat.
Jianpinidnun, A (2023). From white painting to silent piece: interaction between concepts and inspiration of art and music. Silpa Bhirasri Journal of Fine Arts, 10(2), 12-41. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jfa/article/view/258434
Lefteri, C. (2004). Glass: materials for inspirational design. Rotovision.
Qin, W. (2005). Non-Calligraphy 1. https://bentleygallery.com/unique/wang-qin
Shibata, K. (n.d.). Circle ink on paper, Edo Period, 19th century. Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Kanjuro_Shibata_XX
Silanoi, L. (1989). Zengai the Zen Master (translated). SueSajja.
Tani, A. (2019). Calligraphic glass: making marks with glass. Arts, 8(1), 12. https://doi.org/10.3390/arts8010012
Toyo, S. (1495). Haboku Sansui Splashed-Ink Landscape 1495. Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Haboku_sansui
Zerwick, C. (1980). A short history of glass. Coming Museum of Glass.